

เริ่มแรกเมื่อรับงานเป็น
DT
ต้องรู้ว่างาน DT ที่ตัวเองรับเป็นนั้นเป็นงานระดับไหน
ใหญ่ กลาง หรือเล็ก เพราะความกดดันไม่เท่ากัน
(หมายถึงว่าถ้าเราต้องการให้เป็นมาตรฐาน
แต่ถ้าทำเพื่อให้มันจบๆไปก็อีกเรื่องหนึ่ง) และการแข่งขันนั้นเป็นการแข่งขันแบบไหน
ซึ่งก็คงต้องอธิบายรูปแบบของการแข่งขันให้ทราบก่อนเบื้องต้น
เพราะเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ ที่ใช้ในการเตรียมการเป็นปฐมบทของการวางแผน
ระดับการแข่งขันนี้จะไปเกี่ยวพันกับจำนวนผู้เข้าแข่งขัน
สูตรในการจัดการแข่งขัน จำนวนสนามที่จะใช้ การจัดวางสนาม
ต่อยาวไปออกไปถึงสถานที่แข่งขัน เจ้าหน้าที่ประจำสนาม
ระดับการแข่งขัน
แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆคือ
กลุ่มแรกคือกลุ่มการแข่งขันที่จัดขึ้นแล้วมีคะแนนสะสมเป็น Ranking สมาคมฟันดาบรับรองอย่างเป็นทางการ ถ้าในระดับโลก ก็ FIE รับรองอย่างเป็นทางการ
ระดับการแข่งขันภายในกลุ่มนี้ใหญ่หรือเล็กขึ้นอยู่กับระดับตัวคูณที่ให้มากน้อยไม่เท่ากัน
เช่นการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ การแข่งขันรายการโอเพ่น เป็นต้น
กลุ่มที่สองเป็นการแข่งขันที่จัดขึ้นมาโดยเฉพาะ แข่งขันภายในองค์กร ไม่มีคะแนนสะสม
สมาคมฟันดาบฯรับรองการแข่งขันเช่นกัน ตัวอย่างเช่น การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัย
กีฬากองทัพไทย เป็นต้น
กลุ่มที่ 1 |
กลุ่มที่ 2 |
||
ระดับ FIE นานาชาติ |
ระดับประเทศไทย |
ระดับ FIE นานาชาติ |
ระดับประเทศไทย |
การแข่งขัน Olympic X3 |
การแข่งขันกีฬาแห่งชาติ X3 |
Asian Games/SEA Games |
|
World Championship X3 |
ชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย X3 |
Universaid |
กีฬามหาวิทยาลัย |
Grand Prix X2 |
กรังปรีด์ X2 |
CISM |
กีฬากองทัพไทย |
World Cup X1.5 |
รายการ Open X1.5 |
|
|
ระดับ FIE นานาชาติXXXXXXX |
ระดับ FIE นานาชาติXXXXXXX |
ระดับ FIE นานาชาติXXXXXXX |
ระดับ FIE นานาชาติXXXXXXX |
ตารางข้างต้น
เป็นการเปรียบเทียบให้เห็นระดับการแข่งขัน X3,X2,X1.5 หมายถึงตัวคูณคะแนนที่เพิ่มขึ้นในรายการนั้นๆ
ตัวคูณมากก็แสดงว่ารายการนั้นมีความสำคัญมาก รายการในตารางเรียงจากระดับใหญ่
ไล่ลงมาจนถึงะดับเล็ก ที่จริงแล้วระดับใหญ่นั้นหมายถึงชื่อรายการที่เป็นที่ยอมรับ
แต่ไม่ได้หมายถึงขนาด อย่างเช่นการแข่งขันฟันดาบในโอลิมปิค จำนวนนักดาบที่ลงแข่งจะถูกจำกัดจำนวน
ผู้ที่เข้าแข่งขันล้วนแต่ยอดฝีมือที่ถูกคัดมาแล้ว เมื่อไปเปรียบเทียบกับรายการ Universaid
(กีฬามหาวิทยาลัยโลก)
รายการนี้ไม่จำกัดจำนวนคนจึงมีนักดาบส่งเข้าแข่งเป็นจำนวนมาก
จำนวนประทศที่เข้าแข่งอาจถึง 50 ประทศ แต่ก็เป็นรายการแข่งขันที่เทียบแล้วระดับต่ำกว่า
Olympic
ถ้าท่านเป็น DT รายการ World Cup ของ FIE ซึ่งจะแข่งเพียงดาบประเภทเดียว
ไม่เหมือนรายการ Open ของไทยเรา ซึ่งมีระดับเท่ากัน
แต่เราจัดทุกดาบ
ปกติการจัดการแข่งขันที่มีครบทุกดาบนั้นถือว่าเป็นรายการใหญ่สำหรับ FIE ซึ่งปีหนึ่งจะจัดเพียงครั้งเดียวคือ World Championship การรวมทุกดาบอยู่ในการแข่งขันรายการเดียวของ FIE จึงใช้คำว่า
Championship ของไทยเราผมคิดว่าในอนาคตอาจต้องคิดกันใหม่
เพราะเราไปจัดรวมดาบกันทุก Open ทำให้เปลืองเวลา
และการจัดก็มากระจุกอยู่ในกรุงเทพฯ ไม่มีการกระจายออกไปสู่ภูมิภาค
ขอกลับไปที่คำถามที่ว่า ถ้าท่านเป็น DT รายการ World
Cup ของ FIE รายการนี้การวางแผน
เตรียมการไม่ยุ่งยากมากนัก สูตรการแข่งขันจะใช้สูตร Mix ซึ่งมีการวางมืออันดับจาก
Ranking โลก และปัจจุบันฝ่ายเทคนิคของ FIE ได้ออกคู่มือการปฏิบัติทุกขั้นตอนเพื่อให้ World Cup มีมาตราฐานเดียวกัน การจัดก็ยิ่งง่ายเข้าไปใหญ่ แต่ถ้าท่านเป็น DT รายการกีฬามหาวิทยาลัยของไทย
จำนวนนักดาบและมหาวิทยาลัยที่ลงแข่งมีเป็นจำนวนมาก สูตรการแข่งขันใช้สูตร Classic
ซึ่งทุกคนต้องลงแข่งหมดตั้งแต่รอบแบ่งกลุ่ม (Pool) จนไปถึงรอบจัดตารางวางมืออันดับแพ้คัดออก (Eliminate) ซึ่งถ้าวางแผนไม่ดีจะทำให้การแข่งขันล่าช้า
วันนี้คงจะพอไว้แค่นี้ก่อน
เอาแค่เนื้อหาในเรื่องการคิดเตรียมการเบื้องต้นก่อนครับ
เดี๋ยวคราวหน้าค่อยไปคุยกันในเรื่องของการวางแผนการจัดการแข่งขัน
เจอกันใหม่ครั้งหน้าครับ