องค์ความรู้ > บทความพิเศษ > ฝรั่งเศส VS อิตาลี: ใครคือจ้าวแห่งดาบ?
ฝรั่งเศส VS อิตาลี: ใครคือจ้าวแห่งดาบ?

 ที่มา   International Charity Fun for Future of Fencing: The Opposition between French and Italian fencing school

 

ฝรั่งเศสเริ่มพัฒนาวงการฟันดาบของตนเองในศตวรรษที่ ๑๗ โดยเริ่มเปลี่ยนแปลงรูปแบบของและเทคนิคการใช้ดาบของตน ในขณะที่อิตาลีกลับยังคงรักษารูปลักษณ์ดาบของตนไว้อย่างมั่นคง  นี่เป็นจุดเริ่มต้นของความแตกต่างระหว่างโรงเรียนดาบของฝรั่งเศสกับโรงเรียนดาบของอิตาลีที่เดินแยกไปคนละทางจวบจนศตวรรษที่ ๑๙  ในครึ่งหลังของศตวรรษที่ ๑๘ ฝรั่งเศสได้พัฒนาวงการฟันดาบของตนจนก้าวหน้ากว่าวงการดาบของอิตาลี ตัวอย่างเช่น ฝรั่งเศสเริ่มมีการนำหน้ากากมาใช้เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ ในช่วงนี้โรงเรียนดาบฝรั่งเศสเน้นการสอนการปัดดาบและเทคนิคการทำให้ดาบคู่ต่อสู้หลุดจากมือ แต่เทคนิคนี้ได้ถูกห้ามใช้ในการเล่นดาบปัจจุบัน

 

หลังจากที่วงการดาบได้นำหน้ากากป้องกันใบหน้าออกมาใช้งานส่งผลให้มีการพัฒนาเทคติกในการเล่นดาบสูงมากยิ่งขึ้น  นี่เองก่อให้เกิดการแข่งขันในวิธีการสอนในประเทศฝรั่งเศสโดยแบ่งออกเป็น ๒ ค่าย คือ (1) ค่ายแรกเป็นค่ายอนุรักษ์นิยม ประกอบด้วย Bertrand, La Buasier, Cordenua, Bondi  (2) ส่วนอีกค่ายเป็นกลุ่มก้าวหน้าคือ กลุ่มที่มี Lafoger เป็นผู้นำการสอน  Lafoger แม้ว่าจะเตี้ยแต่มีความว่องไวสูงมาก เขาเริ่มเดินทางไปปารีสเพื่อทดสอบทฤษฎีดาบใหม่ของเขาในสนามประลองจริงกับนักดาบแนวหน้าพวกค่ายอนุรักษ์นิยม  เช่น Count Bondi  เขาสามารถเอาชนะนักดาบนักดาบแนวหน้าของกลุ่มอนุรักษ์นิยมท่ามกลางพยานปรมาจารย์ดาบ ตั้งแต่นั้นมาดาบไม่ใช่แค่ศิลปเท่านั้นแต่มันหมายถึงเทคนิคและยุทธวิธีดาบในการเอาชนะคู่แข่งขันด้วย ในช่วงของการแข่งขันของสองโรงเรียนนี้ก่อให้เกิดเทคนิคและยุทธวิธีดาบเพื่อเอาชนะฝ่ายตรงข้ามโดยมีกระบวนคิดอย่างมีเหตุมีผลมากกว่าความเคยชินที่ทำกันมาหรือเพื่อความสวยงามแต่เพียงอย่างเดียว มีการจัดทำกระบวนท่าการตอบรับอย่างซับซ้อน ซึ่งกระบวนท่าเหล่านี้กลายเป็นคุณลักษณะเฉพาะของโรงเรียนดาบค่ายฝรั่งเศส

 

ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 จรดศตวรรษที่ 19 ดาบค่ายฝรั่งเศสมีอิทธิพลสูงมากเหนือประเทศอิตาลี ยิ่งไปกว่านั้นฝรั่งเศสไม่เพียงเผยแพร่การสอนดาบผ่านครูดาบชาวฝรั่งเศสเท่านั้น ยังมีการแนะนำและเผยแพร่อาวุธดาบของตนไปยังอิตาลีไปพร้อมกันด้วย ไม่นานอิตาลีทางเหนือซึ่งถูกยึดครองโดยฝรั่งเศสได้พัฒนารูปแบบโครงสร้างดาบและด้ามจับ (Grip) เป็นแบบใหม่ๆ ส่งผลให้เกิดเทคนิคและยุทธวิธีการใช้ดาบแบบใหม่ๆ ตามไปด้วย และในที่สุดทำให้เกิดโรงเรียนดาบในอิตาลีแบ่งออกเป็น 3 ค่าย คือ (1) ค่ายทางตอนเหนือนำโดย Radaelli ซึ่งเขานิยมการสอนแบบฝรั่งเศส (2) ค่ายอิตาลีตอนใต้นำโดยครอบครัวตระกูล Parie ซึ่งนิยมดาบสไตล์อิตาลี (3) ค่ายอิตาลีตอนกลางนำโดย Marcianni ซึ่งนิยมนำส่วนที่ดีของทั้งสองค่ายแรกมาใช้

 

ในปี 1879 รัฐบาลอิตาลีได้ตั้งคณะกรรมการพิเศษเพื่อทำหน้าที่รวมการสอนของค่ายต่างๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้ค่อนข้างเป็นกลุ่มชาตินิยมโดยนำระบบของวิทยาลัยดาบ The Neapolitan Academy ของ ศาสตราจารย์ Mazaniello Parize มาใช้เป็นมาตรฐานของอิตาลี ไม่ว่าแต่ละค่ายมีความแตกต่างกันอย่างไรก็ตาม ทุกค่ายมีสิ่งที่เหมือนกันตามกฎของดาบก็คือ "one must keep in   mind that fencing as an art of hitting without being hit."  นั่นก็คือนักดาบทุกนายจะต้องฟันหรือแทงให้โดนคู่ต่อสู้ในขณะที่ต้องหลบหลีกจากการถูกฟันหรือแทงให้ได้