

การใช้หลักธรรมาภิบาล หรือ good
governance ในสมาคมฟันดาบแบบ
ตามที่ผู้บริหารสมาคมฯวางแนวทางการบริหารไว้เช่นนั้น มารู้จัก
คำว่า good governance นี้เกิดมาจากธนาคารโลก
ร้องขอให้ประเทศต่างๆ ในโลก รวมทั้ง ไทยเราเองด้วย ที่กู้เงินไป ให้ใช้หลักการนี้
เป็นหลักในการบริหารประเทศเพราะที่ผ่านๆมา ประเทศเหล่านี้ไม่ทราบว่ารวมถึงไทยด้วยรึเปล่า
ชักดาบเงินกู้เป็นประจำ ธนาคารโลกก็คิดว่าถ้าประเทศต่างๆที่กู้ไป
ยึดหลักนี้แล้ว เงินกู้ที่กู้ไปจะได้คืน
แล้วจะเกิดผลดีเป็นวงกว้างสำหรับคนในโลกทำนองนั้น ที่นี้
หลักธรรมาภิบาลเป็นยังไงหละ มาดูหลักทั้ง 6 ของธรรมาภิบาลและคำอธิบาย ดังนี้
1. หลักนิติธรรม
คือ การตรากฎหมาย กฎ ระเบียบข้อบังคับและกติกาต่าง ๆ ให้ทันสมัยและเป็นธรรม
ตลอดจนเป็นที่ยอมรับของสังคมและสมาชิก
โดยมีการยินยอมพร้อมใจและถือปฏิบัติร่วมกันอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม กล่าวโดยสรุป
คือ สถาปนาการปกครองภายใต้กฎหมาย มิใช่กระทำกันตามอำเภอใจหรืออำนาจของบุคคล
2. หลักคุณธรรม คือ การยึดถือและเชื่อมั่นในความถูกต้องดีงาม
โดยการรณรงค์เพื่อสร้างค่านิยมที่ดีงามให้ผู้ปฏิบัติงานในองค์กรหรือสมาชิกของสังคมถือปฏิบัติ
ได้แก่ ความซื่อสัตย์สุจริตความเสียสละ ความอดทนขยันหมั่นเพียร ความมีระเบียบวินัย
เป็นต้น
3. หลักความโปร่งใส คือ การทำให้สังคมไทยเป็นสังคมที่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารอย่างตรงไปตรงมา
และสามารถตรวจสอบความถูกต้องได้โดยการปรับปรุงระบบและกลไกการทำงานขององค์กรให้มีความโปร่งใสมีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารหรือเปิดให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวก
ตลอดจนมีระบบหรือกระบวนการตรวจสอบและประเมินผลที่มีประสิทธิภาพซึ่งจะเป็นการสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน
และช่วยให้การทำงานของภาครัฐและภาคเอกชนปลอดจากการทุจริตคอรัปชั่น
4. หลักความมีส่วนร่วม คือ การทำให้สังคมไทยเป็นสังคมที่ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้
และร่วมเสนอความเห็นในการตัดสินใจสำคัญ ๆ ของสังคม
โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนมีช่องทางในการเข้ามามีส่วนร่วม ได้แก่ การแจ้งความเห็น
การไต่สวน สาธารณะ การประชาพิจารณ์การแสดงประชามติ หรืออื่น ๆ
และขจัดการผูกขาดทั้งโดยภาครัฐหรือโดยภาคธุรกิจเอกชน
ซึ่งจะช่วยให้เกิดความสามัคคีและความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชน
5. หลักความรับผิดชอบ ผู้บริหาร ตลอดจนคณะข้าราชการ ทั้งฝ่ายการเมืองและข้าราชการประจำ
ต้องตั้งใจปฏิบัติภารกิจตามหน้าที่อย่างดียิ่ง โดยมุ่งให้บริการแก่ผู้มารับบริการ
เพื่ออำนวยความสะดวกต่าง ๆ มีความรับผิดชอบต่อความบกพร่องในหน้าที่การงานที่ตนรับผิดชอบอยู่
และพร้อมที่จะปรับปรุงแก้ไขได้ทันท่วงที
6. หลักความคุ้มค่า ผู้บริหาร ต้องตระหนักว่ามีทรัพยากรค่อนข้างจำกัด
ดังนั้นในการบริหารจัดการจำเป็นจะต้องยึดหลักความประหยัดและความคุ้มค่า
ซึ่งจำเป็นจะต้องตั้งจุดมุ่งหมายไปที่ผู้รับบริการหรือประชาชนโดยส่วนรวม
ในเรื่องนี้ อาจารย์ ถวิลวดี บุรีกุล ได้ให้ความเห็นว่า
ธรรมาภิบาลจึงเป็นเรื่องของหลักการบริหารแนวใหม่ ที่มุ่งเน้นหลักการ
โดยมิใช่หลักการที่เป็นรูปแบบทฤษฎีการบริหารงาน แต่เป็นหลักการการทำงาน
ซึ่งหากมีการนำมาใช้เพื่อการบริหารงานแล้ว จะเกิดความเชื่อมั่นว่าจะนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
คือ ความเป็นธรรม ความสุจริต ความมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล
ที่เอาหละ
สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นทำไปถึงไหนขนาดใด แล้วจะทำได้รึ
ทำตามหลักใดหลักหนึ่งแล้วไปขัดกับหลักอื่นรึเปล่า อันนี้ไม่ขอตอบแต่นะครับแต่ผมจะเรียนให้ท่านทราบว่าการนำหลักธรรมาภิบาล
มาเป็นหลักการทำงาน ต้องมีเป้าหมาย แล้วเป้าหมายเป็นอย่างไรหละ
มาพิจารณากันนะว่าจะมีเป้าหมายอย่างงั้นรึเปล่า
ตามรายละเอียด ดังนี้
- เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม
เป็นการจัดสรรทรัพยากรเป็นอย่างสมดุลแก่ทุกกลุ่ม
- มีความสุจริต ไม่ผิดไปจากความถูกต้อง (Integrity)
- มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล
ที่นี้ เราจะทำให้เกิดธรรมาภิบาลอย่างไร
คำตอบน่าจะเป็นการมีสังคมที่เป็นธรรมาภิบาล แล้วสังคมที่ว่าเป็นอย่างไร
เงื่อนไขที่จะเป็นสังคมที่มีธรรมาภิบาล หละเป็นอย่างไร คำถามดังกล่าวมีคำตอบดังนี้
การมีกฎเกณฑ์ ระเบียบที่รองรับหลักธรรมาภิบาล
มีวัฒนธรรมธรรมาภิบาลในสังคม
การมีกลไกตรวจสอบการเข้าสู่อำนาจการบริหารที่มีประสิทธิภาพ
การมีผู้ตรวจสอบที่เป็นอิสระและซื่อตรง
แบบนี้องค์ของเราควรจะ หรือจะต้อง
เป็นองค์กรที่บริหารจัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาลใช่มั้ย
ในความเห็นของกระผมเห็นว่าองค์กรของเราจะต้องใช้หลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารเป็นอย่างยิ่ง
ที่นี้คำถามที่ว่าองค์กรของเราจะทำได้มั้ย
คำตอบนี้ต้องดูกันต่อไป