องค์ความรู้ > บทความพิเศษ > การดำเนินการของสมาคมในลักษณะนี้จะผลักดันให้เกิดสังคมธรรมาภิบาลในหมู่นักดาบหรือไม่
การดำเนินการของสมาคมในลักษณะนี้จะผลักดันให้เกิดสังคมธรรมาภิบาลในหมู่นักดาบหรือไม่

สมาคมฟันดาบฯของเราจะเป็นสังคมธรรมาภิบาลได้หรือไม่ ลองพิจารณาจากแนวทางการประเมินผลเพื่อคัดเลือกผู้ฝึกสอน  ของกัปตันสุทธิพงษ์ฯ ดูนะครับ มีรายละเอียดดังนี้

 

1. ให้ประเมินท่าที ทัศนคติ และความรู้สึกต่อสมาคมฟันดาบ ผู้ร่วมงานในสมาคมฟันดาบ

 

2. ให้ประเมินจาก บุคลิกภาพ และคุณลักษณะความประพฤติเฉพาะตัว ประสบการณ์ชีวิตที่สะสมมา ซึ่งจะสะท้อนถึงความนึกคิด ทัศนคติ และความประพฤติเฉพาะตัวซึ่งแก้ไขได้ยากมาก ท่าทางการแสดงออก ได้แก่ การแต่งกาย ทรงผม ลักษณะที่ปรากฏต่อสาธารณชน ฯลฯ

 

3. ให้ประเมินจากความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการฟันดาบเซเบอร์ กกและกติกาโดยละเอียด การเข้าทำ การรับตอบ และกฎระเบียบของสมาคม ฯลฯ

 

4. ให้ประเมินจากภาษาคือ ต้องมีความรู้ภาษาอังกฤษในขั้น การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ในระดับที่ใช้การได้ดี

 

5. ให้ประเมินจากความสามารถและประสบการณ์ในการแข่งขันดาบเซเบอร์ และผลงานที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นจะเป็นของตนเองหรือผู้ฝึกสอนผู้อื่น

 

6. ให้ประเมินจากความสามารถในการวางแผนการฝึกซ้อมนักกีฬา การแบ่ง Workload ของนักกีฬา การแก้เกมส์ การวิเคราะห์คู่ต่อสู้ การวางแผนงานในการนำนักกีฬาเข้าสู่การแข่งขัน การใช้วิทยาศาสตร์การกีฬาช่วยเหลือในการทำงาน การวางแผนระยะ 1 2 3 และ 4 ปี และการวัดผลด้วยการแข่งขันในรายการสำคัญต่างๆ

 

7. ให้ประเมินจากการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และวินัยของสมาคมฟันดาบฯ

 

8. ให้ประเมินจากการให้ความร่วมมือกับสมาคมในการเป็นอาสาสมัครต่างๆ กับสมาคม การเคยเป็นโค้ชให้กับสมาคมฟันดาบฯ มาก่อน การเปิดใจกว้างสามารถให้การสอนกับนักกีฬาทุกชมรม ไม่เฉพาะชมรมในสังกัด

 

9. ให้ประเมินจากความคิดริเริ่ม รับฟังความคิดเห็นจากผู้ร่วมงาน

 

10. ให้ประเมินจากการเป็นผู้นำ และความรับผิดชอบ สามารถที่จะรับผิดชอบ สามารถที่จะรับมอบงานจากสมาคม และนำพาไปสู่ความสำเร็จ

 

11. ให้ประเมินจากผู้ที่มีอายุที่สามารถเป็นโค้ชได้นานพอสมควร 

 

การให้คะแนน ควรมี 5 ระดับ  A คือ ระดับยอดเยี่ยม  B คือ เหนือมาตรฐาน  C คือ มาตรฐาน  D คือ ผ่านเกณฑ์อย่างเฉียดฉิว  E คือ ต่ำกว่ามาตรฐาน 

 

หากประเมินแล้วได้ D สองตัว หรือได้ E หนึ่งตัวเป็นผู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ ส่วนผู้ผ่านเกณฑ์แล้วจะต้องผ่านการฝึกการเตรียมพร้อมก่อนเข้ารับการอบรมด้วย 

 

จากแนวทางข้างต้น ลองเอาหลักธรรมาภิบาลทั้ง 6 หลักมาจับดู ผลจะออกมาเป็นอย่างไร

 

หลักนิติธรรม คือ การตรากฎหมาย กฎ ระเบียบข้อบังคับและกติกาต่าง ๆ ให้ทันสมัยและเป็นธรรม ตลอดจนเป็นที่ยอมรับของสังคมและสมาชิก โดยมีการยินยอมพร้อมใจและถือปฏิบัติร่วมกันอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม กล่าวโดยสรุป คือ สถาปนาการปกครองภายใต้กฎหมาย มิใช่กระทำกันตามอำเภอใจหรืออำนาจของบุคคล

 

            อ่านแล้วก็ตอบได้เลยว่า ใช่เลย ครับ ผู้อ่านเห็นด้วยมั้ยครับ 

 

หลักคุณธรรม คือ การยึดถือและเชื่อมั่นในความถูกต้องดีงาม โดยการรณรงค์เพื่อสร้างค่านิยมที่ดีงามให้ผู้ปฏิบัติงานในองค์กรหรือสมาชิกของสังคมถือปฏิบัติ ได้แก่ ความซื่อสัตย์สุจริตความเสียสละ ความอดทนขยันหมั่นเพียร ความมีระเบียบวินัย เป็นต้น

 

            หากเราดูจากข้อ 2 8 9 และ10 ในแนวทางการประเมินผลเพื่อคัดเลือกตัวผู้ฝึกสอน อันนี้ จะเป็นการผลักดันผู้ที่ผ่านเกณฑ์นี้ เป็นบุคคลที่มีคุณธรรม จากแนวคิดจิตอาสา รึเปล่าลองพิจารณาดู แต่ผมว่าใช่เลย

 

หลักความโปร่งใส คือ การทำให้สังคมไทยเป็นสังคมที่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารอย่างตรงไปตรงมา และสามารถตรวจสอบความถูกต้องได้โดยการปรับปรุงระบบและกลไกการทำงานขององค์กรให้มีความโปร่งใสมีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารหรือเปิดให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวก ตลอดจนมีระบบหรือกระบวนการตรวจสอบและประเมินผลที่มีประสิทธิภาพซึ่งจะเป็นการสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน และช่วยให้การทำงานของภาครัฐและภาคเอกชนปลอดจากการทุจริตคอรัปชั่น 

 

             อันนี้ใช่เลย เพราะ มีการแจ้งให้กรรมการทราบในที่ประชุม รวมทั้ง ประกาศบน เวบ เพื่อให้ประชาชนชาวดาบได้รับรู้ด้วยเพื่อเตรียมตัวเข้ารับการคัดสรรในอนาคต หากยังใช้แนวทางนี้ 

 

หลักความมีส่วนร่วม คือ การทำให้สังคมไทยเป็นสังคมที่ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ และร่วมเสนอความเห็นในการตัดสินใจสำคัญ ๆ ของสังคม โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนมีช่องทางในการเข้ามามีส่วนร่วม ได้แก่ การแจ้งความเห็น การไต่สวน สาธารณะ การประชาพิจารณ์การแสดงประชามติ หรืออื่น ๆ และขจัดการผูกขาดทั้งโดยภาครัฐหรือโดยภาคธุรกิจเอกชน ซึ่งจะช่วยให้เกิดความสามัคคีและความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชน 

 

              ตามหลักนี้ ผมได้เคยเรียนให้ผู้อ่านทราบแล้วใน วิจารณ์การสัมมนาฟันดาบ 30 ส.ค.52  ว่า การประกาศในเวบเพื่อให้ประชาชนชาวดาบทราบสอดคล้องใน ระดับที่ 1 การให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ของหน่วยงานภาครัฐ (To Inform) เป็นระดับที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในขั้นตอนน้อยสุด ถ้าให้ดี ควรจะถึง ระดับ 5 การเสริมอำนาจประชาชน (To Empower) ในวันสัมมนา ซึ่งพวกเราก้ได้คำตอบแล้วว่า

 

หลักความรับผิดชอบ ผู้บริหาร ตลอดจนคณะข้าราชการ ทั้งฝ่ายการเมืองและข้าราชการประจำ ต้องตั้งใจปฏิบัติภารกิจตามหน้าที่อย่างดียิ่ง โดยมุ่งให้บริการแก่ผู้มารับบริการ เพื่ออำนวยความสะดวกต่างๆ มีความรับผิดชอบต่อความบกพร่องในหน้าที่การงานที่ตนรับผิดชอบอยู่ และพร้อมที่จะปรับปรุงแก้ไขได้ทันท่วงที  

 

               อันนี้ก็ใช่อีกหละ หากผู้บริหารไม่มีหลักนี้ ก็ไม่ออกแนวทางการประเมินผลเพื่อคัดเลือกตัวผู้ฝึกสอน อันนี้มาแน่นอน ใช่หรือไม่ 

 

หลักความคุ้มค่า ผู้บริหาร ต้องตระหนักว่ามีทรัพยากรค่อนข้างจำกัด ดังนั้นในการบริหารจัดการจำเป็นจะต้องยึดหลักความประหยัดและความคุ้มค่า ซึ่งจำเป็นจะต้องตั้งจุดมุ่งหมายไปที่ผู้รับบริการหรือประชาชนโดยส่วนรวม 

 

               หลักนี้หละใช่เลยการคัดสรรบุคคลากรภายใต้ ทรัพยากรที่จำกัด  เป็นไปด้วยความประหยัด และคุ้มค่า และมุ่งหมายให้ประชาชนชาวดาบ ได้รับบริการและประโยชน์สูงสุดตามแนวทาง ประเมินผลเพื่อคัดเลือกตัวผู้ฝึกสอนนี้ 

 

ผลที่ปรากฏสรุปได้ว่าเข้าหลักธรรมาภิบาล และหากเราใช้แนวทางที่เป็นธรรมในลักษณะนี้ กับสังคมของเรา แล้วจะเป็นแนวทางหนึ่งในการผลักดันให้พวกเราเข้าสู่สังคมธรรมาภิบาลได้อย่างแน่นอน

 

ท่านผู้อ่านเห็นด้วยรึเปล่าครับ ? หากมีความเห็นแตกต่าง หรือ มีข้อเสนอแนะคุยกับผมได้ที่ s_montree8932@yahoo.com