

ยุทธศาสตร์สี่ส่วนผลักดันสู่วิสัยทัศน์
(Four
Quadrant Strategies)
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านการจัดการแข่งขัน (Event
Strategy)
เป็นส่วนที่หาวิธีการที่ให้ได้มาซึ่งการจัดการแข่งขันระดับนานาชาติในประเทศไทย
ไม่ว่าจะเป็นการจัดการแข่งขันระดับ Thailand Open ระดับ World Championship ระดับ Grand Prix หรือระดับโอลิมปิค
โดยยุทธศาสตร์ตัวนี้จะเป็นสร้างความสนใจทั้งระดับนานาชาติและระดับชาติให้กับวงการฟันดาบแห่งประเทศไทย
ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้ยุทธศาสตร์ตัวอื่นๆ
ได้รับความสนใจและได้รับการสนับสนุนจากทั้งหน่วยงานของรัฐและเอกชน
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านการบริหาร (Management and
Administration Strategy)
เป็นส่วนบริหารและค้นหาวิธีการผลักดันในการสร้างขีดความสามารถการฟันดาบในระยะยาว
ได้แก่การลงทุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่เกี่ยวกับการฟันดาบ แยกเป็น
การพัฒนาผู้บริหารการกีฬาฟันดาบระดับโลก การพัฒนาผู้จัดการจัดการแข่งขันระดับโลก
การพัฒนาผู้ตัดสินและผู้ฝึกสอนระดับโลก
การพัฒนานักกีฬาฟันดาบระดับโลกซึ่งยุทธศาสตร์ตัวนี้จะเป็นตัวสนับสนุนบุคคลากรเพื่อผลักดันให้กับยุทธศาสตร์ตัวอื่นๆ
ประสบความสำเร็จ นอกจากนั้นแล้ว
จะต้องกำหนดเป้าหมายการพัฒนาขีดความสามารถที่จะต้องไปให้ถึง ทั้งระยะสั้น
ระยะปานกลาง และระยะยาว
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านการเสริมสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐานการฟันดาบของประเทศ
และการหาเงินสนับสนุน (Facilities and Sponsor Strategy)
เป็นยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสนามแข่งขันถาวร
การจัดรายการโทรทัศน์ การโฆษณาและการสนับสนุนด้านการเงิน
การสร้างตราสัญญาลักษณ์ที่มีคุณลักษณะและความหมายเฉพาะที่สามารถนำไปเชื่อมโยงกับผู้ให้การสนับสนุน
เพื่อผลในการประชาสัมพันธ์ตอบแทนผู้สนับสนุน
และการประสานงานกับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง
ยุทธศาสตร์นี้จะสนับสนุนยุทธศาสตร์การจัดการแข่งขัน
ในขณะที่ได้รับการสนับสนุนบุคคลากรจากยุทธศาสตร์ด้านการบริหาร
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างความเป็นเลิศให้นักกีฬาฟันดาบจากรากหญ้าสู่โอลิมปิค (High
Performance Strategy)
เป็นยุทธศาสตร์การจัดโครงสร้างในการพัฒนานักกีฬาจากระดับรากหญ้าสู่ความเป็นเลิศในระดับโลก
ซึ่งเกี่ยวข้องกับโครงสร้างการจัดตั้งสถาบัน เช่น ชมรม
สถาบันการศึกษาด้านกีฬาทั้งเอกชนและของรัฐ การจัดทำสถาบันผู้ฝึกสอน
การคัดเลือกนักกีฬา
ยุทธศาสตร์ตัวนี้เป็นตัวที่จะสามารถสนับสนุนนักกีฬาเข้าสู่โอลิมปิคตามเป้าหมายปี 2028