องค์ความรู้ > การสัมนา > 6.แรงเสียดทานกับการเปลี่ยนแปลงสมาคมฟันดาบสมัครเล่นแห่งประเทศไทย (Resistance and Friction)
6.แรงเสียดทานกับการเปลี่ยนแปลงสมาคมฟันดาบสมัครเล่นแห่งประเทศไทย (Resistance and Friction)

แรงต่อต้านและแรงเสียดทาน

 

(Resistance and Friction)

 

1. การขาดผู้นำเชิงยุทธศาสตร์ที่มีวิสัยทัศน์ และมีความสามารถในการชักจูงผู้มีส่วนได้เสียกับการฟันดาบของประเทศ ให้ร่วมมือร่วมใจกันก้าวย่างสู่วิสัยทัศน์ ซ้ำร้ายไปกว่านั้น หากสมาคมฟันดาบได้ผู้นำองค์กรที่ไม่มีความคิดเชิงยุทธศาสตร์ก็จะยิ่งทำให้การฟันดาบของประเทศไม่มีทางที่จะก้าวสู่มาตรฐานระดับโลกแต่กลับทำให้กีฬาฟันดาบถอยหลังและในที่สุดก็ถูกหลายประเทศแซงหน้าไป ดังนั้นสมาคมฟันดาบจะต้องคัดเลือกนายกสมาคมและผู้บริหารของสมาคมที่มีวิสัยทัศน์และมีความสามารถในการสื่อสารที่มีความสามารถในการชักจูงคนในองค์กรให้ก้าวเดิน สู่ความเป็นเลิศและมาตรฐานระดับโลกมากกว่าการเลือกผู้นำที่ขาดแนวความคิดเชิงยุทธศาสตร์ แต่กลับมองผลระยะสั้นโดยขาดวิสัยทัศน์ซึ่งจะส่งผลให้การฟันดาบของประเทศไม่มีวันที่จะก้าวสู่การฟันดาบชั้นนำของโลกได้ 

 

2. แรงเสียดทานจากวัฒนธรรมองค์กร ที่มักมองการแก้ปัญหาระยะสั้น มากกว่าการวางรากฐานปรับปรุงเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ความเป็นเลิศในระยะยาว  มองผลประโยชน์ระยะสั้นมากกว่าผลประโยชน์ของประเทศในระยะยาว  มุ่งแก้ปัญหาระยะสั้นจนลืมมองขีดความสามารถและเป้าหมายในระยะยาว ดังนั้นการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากวัฒนธรรมองค์กรเก่าและเป็นอุปสรรคนี้จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขมิฉะนั้นแล้วจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาองค์กรไปสู่วิสัยทัศน์ใหม่  วิธีการขจัดแรงเสียดทานที่เกิดจากวัฒนธรรมองค์กรเก่านี้จำเป็นต้องสร้างค่านิยมขององค์กรใหม่เพื่อเป็นกรอบในการคัดสรรบุคคลากรเข้าทำงานในกิจการฟันดาบแห่งประเทศไทย โดยควรแบ่งแยกบุคคลากรเป็นสองประเภทคือ 

 

          - บุคลากรที่มีความสามารถเชิงยุทธศาสตร์ (Strategy)

 

          - บุคลากรที่มีความสามารถเชิงการบริหาร (Management)

 

          - บุคลากรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง (Specialist) บุคลากรประเภทแรกควรสนับสนุนให้         ปฏิบัติงานในหน้าที่ระดับสูงในการกำหนดยุทธศาสตร์ผลักดันการฟันดาบของประเทศใน         ระยะยาว  ส่วนบุคคลากรประเภทที่สองควรสนับสนุนให้ปฏิบัติในตำแหน่งผู้บริหารในการ     จัดทำแผนงานและโครงการรองรับยุทธศาสตร์ระยะยาวกับเป็นผู้กำหนดเป้าหมาย       งบประมาณและนำแผนไปสู่การปฏิบัติ รวมไปถึงการติดตามตรวจสอบความก้าวหน้าและ          ความสำเร็จ  ส่วนบุคลากรประเภทหลังสุดควรสนับสนุนให้ทำงานเฉพาะทาง ได้แก่ การ    เป็นผู้ตัดสิน เป็นผู้ฝึกสอน นักวิเคราะห์วิจัยการฟันดาบ โดยบุคลากรทั้งสามส่วนถือว่ามี        ความสำคัญเท่าเทียมกัน เพียงแต่ถนัดกันคนละทาง

 

3. กีฬาฟันดาบเป็นกีฬาที่เป็นสากลนานาชาติ การติดต่อสื่อสารด้วยการใช้ภาษาต่างประเทศโดยเฉพาะภาษาอังกฤษนับเป็นปัจจัยสำคัญในการนำพาการฟันดาบของประเทศสู่สากล ดังนั้นการผลักดันให้บุคคลากรของการฟันดาบของประเทศมีความสามารถในการใช้ภาษาต่างประเทศจะเป็นแรงเสียดทานที่สมาคมฟันดาบจะต้องคำนึงถึงและหาทางเพิ่มความสามารถและประสิทธิภาพของบุคคลกรในทุกระดับ

 

4. เทคโนโลยีและเทคนิคการฟันดาบของโลกมีการพัฒนาต่อเนื่อง การติดตามและเสริมความสามารถให้ นักกีฬา ผู้ฝึกสอน กรรมการ ผู้จัดการแข่งขัน ให้สามารถปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยี เทคนิค และกติกาใหม่มีความสำคัญยิ่ง ดังนั้น การลงทุนให้การศึกษาด้านคนและเครื่องมือสมัยใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการฟันดาบถือว่าเป็นการลงทุนที่สำคัญและต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องในด้านเงินทุนสนับสนุน กีฬาทุกประเภทของประเทศไทย จะได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ เงินทุนสนับสนุนจากรัฐบาลและภาคเอกชนมีแนวโน้มที่จะได้ลดลงในห้วง 2 ถึง 3 ปี ข้างหน้า อย่างไรก็ตามหากมองศักยภาพของประเทศไทยในระยะยาวแล้วระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยจะเติบโตขึ้นโดยต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลให้งบประมาณการสนับสนุนเงินทุนจากรัฐบาลและภาคเอกชนอยู่ในภาวะที่ดีขึ้น  ดังนั้น   เพื่อให้สามารถได้เงินสนับสนุนให้กับการฟันดาบของประเทศทั้งในระยะสั้นและยาว จึงควรกำหนดยุทธศาสตร์ระดมเงินทุน และมีแผนการแปลงเงินทุนเหล่านั้นไปเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันฟันดาบระยะยาว  เป็นการสร้างโครงสร้างพื้นฐานของการฟันดาบของประเทศ เป็นส่วนวางแผนการบริหารจัดการที่จะทำให้ก่อให้เกิดรายได้หรือเงินทุนในการดำเนินการเพิ่มขึ้นในอนาคต อีกทั้งเป็นส่วนการสนับสนุนสมาคมให้มีงบประมาณเพียงพอต่อการปฏิบัติงานตามแผนระยะสั้นเพื่อเกิดความพร้อมในการจัดการแข่งขัน การจัดส่งนักกีฬา กรรมการ ผู้บริหาร เข้าร่วมในการแข่งขันระหว่างประเทศ และในประเทศ