องค์ความรู้ > บทความพิเศษ > การพัฒนาให้สมาคมและชมรมกีฬาฟันดาบ ให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน
การพัฒนาให้สมาคมและชมรมกีฬาฟันดาบ ให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน

จากการสัมมนาที่ ม.หอการค้าที่ผ่านมา มีคำถามอันหนึ่งที่น่าสนใจ ว่า จะทำอย่างไรให้ชมรมยั่งยืน

 

ผมได้ให้ความหมาย ความยั่งยืนของชมรมเกิดจากการรวมตัวอันหนาแน่นและจิตใจมุ่งมั่นที่จะเล่นกีฬาฟันดาบ

 

ที่นี้การการรวมตัวอันหนาแน่นของคนในชมรมเกิดจากอะไร การรวมตัวอันหนาแน่นของคนในชมรมควรจะมีแกนนำหรือแกนกลางของชมรม นั้นคือ ครูดาบ รวมทั้ง ผู้อุปถัมภ์ชมรม แบบที่ชมรมจุฬาภรณ์ เรียกว่าซุปเปอร์แม่ ที่มุ่งมั่นทุ่มเทให้กับลูกศิษย์นักดาบของตนเอง อย่างจิตที่มีใจอยากเห็นความก้าวหน้า

 

แต่ในโลกแห่งโลกาภิวัฒน์ ปัจจัยในเรื่องของรายได้ ค่าดำเนินการก็มีความสำคัญสำหรับตัวครูดาบ นักกีฬาเช่นกัน ที่นี้ปัจจัยที่กล่าวถึงนั้น ผมพบว่าสามารถหาได้ตามท้องถิ่นของชมรมที่ตั้งอยู่

 

คือชมรมขอรับการสนับสนุนเงินสนับสนุน จากผู้สนับสนุนในท้องถิ่นได้ เช่น กรมประชาสงเคราะห์เดิม องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ อบจ. เทศบาล อบต. หรือ จากมูลนิธิ หรือองค์กรที่สนับสนุนอื่นๆ เช่น สสส. 

 

หากการจัดตั้งชมรมเกิดจากการรวมตัวของคนในชุมชนนั้นๆ และก่อประโยชน์กับสร้างชื่อเสียงในท้องถิ่นได้ แต่ก็เป็นสิ่งนั้นก็ยังไม่ก่อให้เกิดความยั่งยืนได้ทั้งหมดเพราะหากไม่มีเงินงบประมาณมาสนับสนุนย่อมส่งผลให้ ชมรมอาจต้องเลิกรากันไป หรือ แตกกันไปเพราะครูดาบ หรือนักกีฬาต้องไปทำมาหาเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัว ความยั่งยืนที่จะต่อเนื่องได้ต้องเกิดจากการหารายได้ ได้ด้วยตนเองของชมรม หรือก้าวสู่การช่วยเหลือตัวเองได้ย่อมสร้างความแข็งแกร่ง ให้ชมรมเป็นอย่างมาก แต่ทุกอย่างต้องขึ้นอยู่กับความพอดี พอเพียง ตามเหตุผลที่สมควรในการหาเงินมาสนับสนุน และขีดความสามารถของชมรมเอง คือ มีมากก็ใช้ได้มาก มีน้อยก็ใช้ได้น้อย เป็นธรรมชาติ 

 

โดยสรุป ในการจัดตั้งชมรมย่อมต้องเริ่มจากการของสนับสนุนเงินทุนอาจจะจากหน่วยงานของรัฐ หรือ ผู้สนับสนุนอื่นๆ หลังจากตั้งตัวได้ก็ควรที่จะหารายได้หล่อเลี้ยงชมรมตนเองต่อไป อาจจะจากการหารายได้ด้านอื่นๆ เช่นจัดกีฬาที่สามารถทำเงินได้ เช่น กอล์ฟ มวย หรือ การขอสปอนด์เซอร์ที่สนับสนุนตัวนักกีฬา ที่ต้องมีการถ่ายทอดโทรทัศน์ ทั้งทางเคเบิลทีวี หรือ ช่องฟรีทีวี หรือตามสิ่งพิมพ์ ฯลฯ ที่นี้สมาคมฯจะมีบทบาทและหน้าที่อย่างไร ที่จะผลักพลังและขีดความสามารถทั้งหมดของ สมาคมฯและสมาชิกสโมสร ให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนและเกิดประสิทธิภาพสูงสุดอย่างไร บทบาทของสมาคมจะเป็นการปกครอง คือการปกป้องและคุ้มครองแบบทุกอย่างออกจากศูนย์กลาง ไม่ต้องคิด เดี๋ยวส่วนกลางคิดให้ทั้งหมดหรือ สนับสนุนให้ชมรมต่างๆพัฒนากันเองเข้มแข็งกันเอง หรืออย่างไรสิ่งที่ผมคิดว่าบทบาทที่เหมาะสมในบทบาทของสมาคมฯ คือ อยู่ตรงกลาง ได้แก่ บางเรื่องก็ใช้วิธีการปกครอง และ สนับสนุนให้มีการเสริมอำนาจให้แก่ชมรม ตามเหตุผลแห่งความเหมาะสม และควรจะเป็น ทั้งสองส่วนอันได้แก่ การพัฒนาชมรม หรือ การพัฒนาสมาคมฯ ปรัชญาที่นำมาใช้ ในการพัฒนาที่ยั่งยืน

 

ตามแนวคิดของมหาปราชญ์ ของเรา คือ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา

 

หากจะชี้ให้เห็นถึงแนวทางที่จะอธิบาย แนวคิด เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา คือ วิธีการบริหารเป็นไปตามเป้าหรือความตั้งใจที่วางไว้โดยอาศัยแนวทาง PDCA ได้แก่

 

P (Plan) วางแผน (เข้าใจ)

 

D (Do) นำไปปฏิบัติ (เข้าถึง)

 

C (Check) ตรวจสอบผลการปฏิบัติเทียบกับแผน (เข้าถึง)

 

A (Act) แก้ไขปรับปรุงหากผลลัพท์ต่ำกว่าแผน (พัฒนา)

 

ที่มา เอกสารประกอบการบรรยาย เรื่องการพัฒนาคุณภาพการบริหารงาน ของ อาจารย์ จำลักษณ์ ขุนพลแก้ว

 

โดยแต่ละชมรม และ สมาคมดำเนินการตามหลักขั้นต้น การพัฒนาจะเกิดขึ้นต่อไปเรื่อยๆ ทั้งนี้การบริหารต้องยึดหลัก

 

เพื่อลูกค้า เพื่อพนักงาน เพื่อสังคม

ฝากไว้คิดดู