

สมาคมฟันดาบฯได้จัดอบรมผู้ตัดสินเพื่อก้าวเป็นผู้ตัดสินระดับ
Class D
ในห้วงวันที่ 16-17 มกราคม 2553 ที่ผ่านมา ผมขอเล่าขั้นตอนการดำเนินการให้พวกเราได้ทราบโดยสังเขปดังนี้
วัตถุประสงค์ของการจัดอบรมผู้ฝึกสอน เพื่อเพิ่มจำนวนผู้ตัดสินในระดับ Class D ให้กับองค์กรผู้ตัดสิน โดยเน้นคุณภาพของผู้ตัดสินมากกว่าปริมาณ
ปัญหาดั้งเดิมของสมาคมฟันดาบฯ คือการขาดแคลนผู้ตัดสินที่มีคุณภาพ ในทุกระดับ
ตั้งแต่ผู้ตัดสินระดับพื้นฐาน ( Class D ) ผู้ตัดสินระดับกลาง
( Class C) และผู้ตัดสินระดับ International ที่ได้ Licenses จาก FIE อย่างน้อย
2 ดาบ ( Class B และ A ) ที่ผ่านมาในรายการแข่งขันต่างๆทั้ังที่สมาคมฟันดาบรับรอง
และที่ไม่ได้รับการรับรองนั้น
ผู้ตัดสินถูกเลือกกันมาตามความสัมพันธ์ของผู้จัดการแข่งขัน
บางคนก็มาเพราะเกรงใจกัน มาตรฐานของผู้ตัดสินขึ้นอยู่กับตัวของผู้ตัดสินเอง
บางคนก็อาศัยทักษะประสบการณ์ที่ตัดสินสืบเนื่องกันมายาวนาน
บางคนก็เรียนรู้การตัดสินจากการถูกบังคับให้ลงตัดสิน บางคนก็มีความมุ่งมั่นที่จะเดินเข้ามาในสายผู้ตัดสิน
และด้วยความสัมพันธ์กันเป็นกลุ่มก้อนนี้เองทำให้ผู้ตัดสินถูกมองว่าแบ่งออกเป็นกลุ่มเป็นค่าย
จึงเกิดปัญหาตามมาในหลายๆเรื่องในระหว่างที่ทำการแข่งขัน ในเรื่องของการลำเอียง
ความจงใจในการเล่นพรรคเล่นพวก การขาดประสบการณ์ในการตัดสิน การขาดหลักวิชาการ
ลงท้ายคือการไม่ยอมรับระหว่างกัน
ระดับการแข่งขันที่เป็นรายการใหญ่ของสมาคมฟันดาบฯ
เช่นรายการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ซึ่งถือเป็นรายการใหญ่ในรอบปี
แต่ไม่น่าเชื่อว่าระดับของผู้ตัดสินที่ลงตัดสินนั้นกลายเป็นผู้ตัดสินที่อยู่ในระดับกลางค่อนมาทางปลายแถว
ไม่ใช่ผู้ตัดสินที่ดีที่สุด เพราะผู้ตัดสินระดับที่ได้รับการยอมรับนั้นส่วนใหญ่เป็นนักดาบที่ลงแข่งขัน
เพราะผู้ตัดสินของเรายังเป็นทั้งนักกีฬาและผู้ตัดสินไปพร้อมกันด้วย เราจึงมีผู้ตัดสินที่มีคุณภาพไม่เพียงพอใช้งาน ปัญหาเหล่านี้
เป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขแบบค่อยเป็นค่อยไป
เพราะกีฬาฟันดาบในประเทศไทยของเรานั้นเต็มไปด้วยข้อจำกัด
ไม่ว่าจะเป็นข้อจำกัดในเรื่ององค์ความรู้ของผู้ตัดสินโดยรวม
ข้อจำกัดในเรื่องของภาษาที่ต้องใช้ภาษาฝรั่งเศสและภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักในการค้นคว้าหาความรู้
เรื่องของการเข้าถึงกติกา และการนำกติกามาใช้
ข้อจำกัดในเรื่องของการเป็นมือสมัครเล่นมิใช่เป็นมืออาชีพ ผู้ตัดสินส่วนใหญ่เข่ามาทำงานเป็นผู้ตัดสินในลักษณะกึ่งอาสาสมัคร
ทำงานด้วยใจ มิใช่อาชีพ
ด้วยค่าตอบแทนในลักษณะที่การให้หรือการรับเป็นไปแบบเกรงใจกัน
ยังไม่มีมาตรฐานใดๆรองรับ สิ่งเหล่านี้มิได้สร้างแรงจูงใจให้ใครอยากเป็นผู้ตัดสิน
ความรู้สึกของการเป็นผู้ตัดสินนั้นถูกมองว่าไม่เสมอตัว
ก็ต้องถูกตำหนิ แต่สิ่งที่ได้กล่าวมานี้ อย่างน้อยพวกเราก็ได้เข้ามาถึงปัญหา
และรับรู้ว่าปัญหามันคืออะไร และหาวิธีที่จะแก้ไข
แนวทางการอบรมผู้ตัดสิน
แนวทางในการอบรมผู้ตัดสิน
ให้มีผู้ตัดสินที่มีมาตรฐานสูงในจำนวนที่เพียงพอ คือส่วนหนึ่งของการการพัฒนาระบบผู้ตัดสิน การสร้างองค์ความรู้ ทั้งทางด้านเทคนิค และด้านประสบการณ์ในการตัดสิน
เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องกระทำควบคู่ร่วมกับการพัฒนาด้านอื่นๆถ้าเราต้องการไปถึงเป้าหมายตามที่ตั้งไว้
ไม่ว่าจะเป้นการพัฒนานักกีฬา การพัฒนาระบบผู้ฝึกสอน การพัฒนาระบบบริหารจัดการงานดาบ
สมาคมฟันดาบฯวางแนวทางให้มีการอบรมผู้ตัดสินภายในประเทศ
2
ครั้ง และส่งไปสอบผู้ตัดสินระดับนานาชาติ 1 ครั้ง
ในรอบ 1 ปี
- การอบรมภายในประเทศ
ครั้งที่ 1 ดำเนินการในห้วงต้นปีก่อนการแข่งขันเยาวชนชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย
โดยวางเป้าหมายในการสร้างผู้ตัดสินรุ่นใหม่ในระดับ Class D โดยเข้ารับการอบรมภาคทฤษฎีและปฏิบัติ
จำนวนผู้เข้ารับการอบรม 40 คน
และตั้งเกณฑ์มาตราฐานในการผ่านเกณฑ์การอบรมไว้ที่ 60 % เพื่อให้ผ่านการคัดเลือกเข้าไปเป็นผู้ตัดสินในการแข่งขันเยาวชนชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย
เพื่อสอบให้ได้ Licenses ต่อไป
- การอบรมภายในประเทศครั้งที่
2
ดำเนินการในห้วงกลางปีก่อนการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย
และกีฬาแห่งชาติ เป็นการอบรมเพื่อพิจารณา ประเมินผ่านเกณฑ์เลื่อน Class จาก D เป็น C และประเมินมาตรฐานผู้ตัดสิน
Class C ตาม Ranking ที่จัดไว้เพื่อคัดเลือกตัวส่งเข้าสอบในระดับนานาชาติ
จำนวนผู้เข้ารับการอบรมในห้วงที่สองจำนวน ไม่เกิน 20-30 คน
เน้นการตรวจสอบมาตรฐาน สัมนาแลกเปลี่ยน ทัศนคติของการเป็นผู้ตัดสินที่ดี มีคุณธรรม
การเรียนรูักติกาการแข่งขัน ระบบการจัดการแข่งขัน ระบบอุปกรณ์ที่ใช้ในการแข่ง
ตลอดจนเรื่องสิทธิประโยชน์
- การส่งสอบผู้ตัดสินระดับนานาชาติ
1
ครั้ง จัดลำดับความเร่งด่วนตาม Ranking ของผู้ตัดสินที่ได้จัดทำไว้ทั้งปี
คะแนนสะสมใน Ranking พิจารณาจากการที่ถูกคัดเลือกให้เข้าตัดสินในระดับความสำคัญรายการต่างๆ
(การแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ได้คะแนนมากกว่ารายการ Open เป็นต้น) การถูกคัดเลือกให้เข้าไปตัดสินในรอบการแข่งขัน (รอบชิงชนะเลิศ
ได้คะแนนมากกว่า รอบ 4 คนสุดท้าย ฯลฯ) ความรอบรู้ในกติกา
การแก้ปัญหา ทัศนคติในการเป็นผู้ตัดสิน และอืนๆ ทั้งหมดนี้จะถูกนำมาจัดไว้เป็น Ranking
ของผู้ตัดสิน
สมาคมฟันดาบฯมีแผนงานที่จะส่งเสริมผู้ตัดสินชั้นดี
ที่ได้ Licenses
จาก FIE ไปตัดสินระหว่างประเทศ
ท่านเชื่อหรือไม่ว่าปัจจุบันแม้เราจะมีปัญหาตามที่ได้กล่าวมา
แต่ผู้ตัดสินของเราก็ถือได้ว่าอยู่ในระดับแถวหน้า
มีหลายท่านที่ถูกคัดเลือกให้เป็นตัดสินในรอบชิงชนะเลิศ ในการแข่งขันระดับนานาชาติ
ซึ่งโอกาสเช่นนี้มีไม่บ่อยนัก
การอบรมผู้ตัดสิครั้งที่ผ่านมามีผู้เข้ารับการอบรมตามที่ได้ลงทะเบียนไว้จำนวน
37
ท่าน โดยมาจากชมรม/สโมสร/สำนัก ที่หลากหลาย
การจัดการอบรมแบ่งออกเป็น 2 วัน สถานที่อบรมวันแรกโรงแรม Alexander
บางกระปิ วันทีสองศูนย์ฝึกกีฬาในร่ม รัชมังคลาสถาน
ใช้วิทยากรผู้อบรม 2 ท่านคือ
ท่านแรก คุณอานนท์
คลื่นสุวรรณ ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาสมาคมฟันดาบฯ
และเป็นหัวหน้ากรรมการผู้ตัดสินสมาคมฟันดาบฯ ได้ Licenses จาก
FIE ทั้ง 3 ดาบ
มีประสบการณ์ในการเป็นผู้ตัดสินมายาวนานกว่า 15 ปี
เคยตัดสินรายการระดับโลกมาหลายรายการ ที่สำคัญคือการมีประสบการณ์ตรงในการเป็นผู้ฝึกสอน
ผ่านหลักสูตรผู้ฝึกสอนจากผู้ฝึกสอนระดับโลกหลายหลักสูตร
และยังเคยเป็นนักกีฬาฟันดาบเซเบอร์มาก่อนจึงนับว่ามีความรู้ในการถ่ายทอดครบเครื่อง
กล่าวได้ว่าเป็นผู้หนึ่งในวงการยุทธจักรดาบที่หาตัวจับยาก
ท่านที่สองคือตัวผมเอง ขออนุญาตละไว้ในเรื่องของประสบการณ์ต่างๆไม่ขอนำมากล่าวถึง
- วันแรกเป็นภาคทฤษฎี
เรียนรู้เกี่ยวกับทฤษฎีของการการเป็นผู้ตัดสิน การเรียนรู้กติกาที่มีนัยยะสำคัญ
เนื้อหาหัวข้อที่เป็นสาระสำคัญต่างๆที่นำมาเรียบเรียง
เป็นการนำประสบการณ์ตรงจากที่ได้เคยผ่านการฝึกอบรม การเข้าสอบ การลงตัดสินในระดับนานาชาติ
ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา นำมาเก็บรวบรวม
และนำมาใช้ในการนำเสนอครั้งนี้ด้วยโปรแกรมนำเสนอ Powerpoint เนื้อหาสาระสำคัญตามที่บรรยาย โดยสรุปทำได้ดีกว่า FIE ทั้งด้านความคิดริเริ่ม ตลอดจนเนื้อหาสาระของการอบรม จัดแบ่งเป็นขั้นตอน
ที่ทำให้ง่ายต่อความเข้าใจ นอกจากนี้ยังนำวีดีโอการตัดสิน
ทั้งในรูปของการวิเคราะห์ และในการแข่งขันจริงที่ตัดต่อมาเป็นตอนๆ
ให้ผู้เข้ารับการอบรมได้มีโอกาสร่วมกันวิเคราะห์
และช่วงสุดท้ายเป็นการวิเคราะห์การตัดสินจากข้อสอบของ FIE
- วันที่สองเป็นภาคปฏิบัติ
เริ่มด้วยการให้ผู้เข้ารับการอบรมเขียนแนวคิด วิสัยทัศน์
รวมถึงมุมมองระบบการผู้ตัดสิน คนละ 1 หน้ากระดาษ
จากนั้นจัดแบ่งแยกผู้ตัดสินลงภาคปฏิบัติตามดาบที่เลือกสอบ
โดยใช้นักดาบเยาวชนชุดทีมชาติเป็นแบบในการตัดสิน สุดท้ายคือการสอบข้อเขียนเฉพาะดาบ
30 ข้อ กำหนดเกณฑ์ผ่านขั้นต่ำต้องตอบถูก 18 ข้อ หลังจากจบกระบวนการในวันที่สองแล้ว
วิทยากรทั้งสองท่านได้สรุปเป็นภาพรวมอีกครั้ง
- ผู้ที่เข้ารับการอบรมจะได้รับประกาศนียบัตร
ว่าได้ผ่านการอบรม แต่ยังไม่ได้ Licenses ผลจากการสอบภาคปฏิบัติจากการตัดสินจริง
โดยมีผู้ตัดสิน 3 ท่านร่วมเป็นกรรมการ ซึ่งเป็นผู้ให้ความเห็นว่าผ่านหรือไม่ผ่าน
รวมกับผลสอบข้อเขียน(ผ่านเกณฑ์ 60 %) และจากการแสดงวิสัยทัศน์
จะนำมารวมเพื่อประกาศว่ามีผู้ใดบ้างที่ผ่านถูกเรียกเข้าไปตัดสินในการแข่งขันเยาวชนชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทยในห้วง
12-14 ก.พ.53 นี้
ผู้ที่ผ่านการตัดสินในรอบ Pool โดยที่กรรมการพี่เลี้ยงที่ร่วมตัดสินด้วยให้ผ่านจะได้
Licenses Class D
- สำหรับผู้ที่สอบไม่ผ่านในครั้งนี้
สามารถมาเข้าสอบภาคปฏิบัติได้โดยไม่ต้องรับการอบรมภาคทฤษฎีอีก
สามารถกลับเข้ามาสอบภาคปฏิบัติได้ในครั้งต่อไป
สำหรับผลของภาคปฏิบัติในครั้งนี้
จะประกาศให้ทราบทางหน้า Website ในสัดาห์หน้า (ห้วง 1-3
ก.พ.53)