งานผู้ตัดสิน > การเข้าทำซ้อน เข้าทำซ้ำ และการกลับเข้าทำ
การเข้าทำซ้อน เข้าทำซ้ำ และการกลับเข้าทำ

ในการปฏิบัติการเชิงรุก โดยปกตินั้น จะประกอบไปด้วยการเข้าทำ (Attack) การตอบโต้ (Reposte) และการโต้ตอบ (Counter Reposte) แต่ที่สร้างความสับสนให้กับผู้ตัดสินมากที่สุด คือการเข้าทำที่นอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น เป็นปฏิบัติการเชิงรุกแบบอื่นๆ (Other offensive actions) อันประกอบด้วยการเข้าทำซ้อน (The remise ) การเข้าทำซ้ำ (The redoublement ) และการกลับเข้าทำ (The reprise of the attack ) ในกติกาของ FIE ได้ให้คำจำกัดความไว้ดังนี้

 

The remise  (การเข้าทำรีมีสทำซ้อน

 

A simple and immediate offensive action which follows the original attack, without withdrawing the arm, after the opponent has parried or retreated, when the latter has either quitted contact with the blade without riposting or has made a riposte which is delayed, indirect or compound.

การเข้าทำจังหวะเดียวอย่างทันทีทันใดในการปฏิบัติการเชิงรุก ซึ่งทำต่อจากการเข้าทำเริ่มแรกโดยไม่ได้ดึงแขนกลับ หลังจากที่ฝ่ายตรงข้ามได้รับดาบหรือถอยแล้วได้ผละออกจากการปะทะ โดยมิได้ใช้ดาบทำการตอบโต้ หรือชักช้าในการทำตอบโต้ไม่ว่าจะเป็นแบบกระทำนอกแนวหรือแบบผสมก็ตาม

 

The redoublement การเข้าทำรีดับเบิ้ลมองต์ ทำซ้ำ


A new action, either simple or compound, made against an opponent who has parried without riposting or who has merely avoided the first action by retreating or displacing the target.

เป็นการปฏิบัติการใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าทำจังหวะเดียวหรือแบบผสมก็ตาม ที่กระทำต่อฝ่ายตรงข้ามที่รับดาบ ซึ่งมิได้ตอบโต้ หรือได้แต่เพียงหลีกเลี่ยงการปฏิบัติการครั้งแรก ด้วยการถอยหรือการหลบเลี่ยงเท่านั้น

 

The reprise of the attack (การเข้าทำรีปริสการกลับเข้าทำ


A new attack executed immediately after a return to the onguard position.

การกลับเข้าทำใหม่ที่กระทำทันทีทันใดหลังจากการกลับไปสู่ตำแหน่งจดดาบแล้ว (Onguard)

 

 

โดยสรุปแล้วผมเชื่อว่าผู้ตัดสินส่วนใหญ่เมื่ออ่านจากคำแปลแล้ว ก็ยังไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่าง  Remise ((การเข้าทำรีมีสทำซ้อน ) กับ Redoublement (การเข้าทำรีดับเบิ้ลมองต์ ทำซ้ำ) ได้อย่างชัดเจน  ส่วน Reprise of the attack ((การเข้าทำรีปริสการกลับเข้าทำ)คงไม่มีปัญหาเพราะมีความชัดเจนในตัวแล้ว สำหรับภาษาไทยที่แปลมานั้นโดยปกติไม่ได้ใช้ในการตัดสินและก็ไม่ต้องจำหรอกครับ แต่ที่ผมต้องเขียนกำกับมาก็เพื่อความสมบูรณ์ของเนื้อหาของกติกาและให้รู้ว่าภาษาไทยของเรานั้นก็มีความลึกซึ้งของภาษาที่สามารถรองรับคำเหล่านี้ได้ ผมเองก็ไม่ได้บัญญัติคำเหล่านี้ขึ้นมาเอง แต่ได้นำคำเหล่านี้จากยอดปรมาจารย์ทางดาบได้แปลไว้คือท่านอาจารย์ภูมิ  หุราพันธุ์ มาเป็นบรรทัดฐาน สำหรับวิธีการที่แยกความชัดเจนของ Remise และ Redoublement ง่ายๆคือ

 

Remise การทำซ้ำโดยที่มีการเปลี่ยนแนวดาบ (คู่ต่อสู้รับดาบแต่ไม่ตอบ/ตอบช้า /ถอยไม่ตอบ)

Redoublement การทำซ้ำโดยที่ไม่มีการเปลี่ยนแนวดาบ (คู่ต่อสู้รับดาบแต่ไม่ตอบ/ตอบช้า /ถอยไม่ตอบ)

 

ตามที่ผมอธิบายนี้เป็นไปตามกติกาของ FIE ที่ต้องยึดถือในการตัดสิน แต่ถ้าเป็นในแง่มุมของปรมาจารย์ดาบเซเบอร์ทั้งของอิตาลี และฝรั่งเศส ที่เชี่ยวชาญทั้งหมดจะไม่เห็นด้วยกับคำจำกัดความที่ FIE กำหนดขึ้น เรื่องนี้คงต้องขอให้คุณอานนท์ในฐานะหัวหน้าผู้ตัดสินนำมาเล่าอีกทีหนึ่ง