งานผู้ฝึกสอน > Tempo 3
Tempo 3

Tempo 3

 

          Tempo กับ Rhythm:   Zbigniew Czajkowski  กล่าวว่า   "ฟันดาบเป็นกีฬาที่นอกจากจะรวดเร็วแล้วยังมีจังหวะที่รวดเร็วด้วย (fast speed and fast change of rhythm)"   มันเกิดขึ้นได้โดยอาศัยการ step เท้า  ช่วงที่ผ่านมาผมได้อ่าน ข้อเขียนของ  น.อ.ศูนย์ปืน และจาก Youtupe เรื่อง การย่ำเท้าของ Montano และ เรื่อง world class footwork ก็เลยได้แนวความคิดมาเขียน  rhythm คือจังหวะของการเคลื่อนที่ (movement) ของนักดาบ เช่น ช้า เร็ว สั้น ยาว เร่ง หรือ หน่วง แตกต่างกันไป    การ step เท้ามีหน้าที่หลักใหญ่อยู่   2 ประการคือ (1) เข้าให้ถึงคู่ต่อสู้ และ (2) ถอยหนีจากคู่ต่อสู้       สิ่งที่ตามมาก็คือ  เวลา(time)  ระยะ(distance) และช่องว่าง (space) ซึ่งนักดาบทุกคนจะอาศัยสิ่งเหล่านี้เป็นตัวช่วยในการหา  tempo   

 

rhythm  : ถ้าเราใช้สัญญาลักษณ์บางอย่างแทน  rhythm  ของนักดาบ   เช่น    

 

....................................หมายถึง step  สั้นๆ

_ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ หมายถึง step ยาว ๆ    

>>>>>>>>>>>>>>>  หมายถึง step เร็ว ๆ    

___ ___ ___ ___ ___ __ หมายถึง  step ช้า  

     

ถ้านักดาบใช้รูปแบบ หนึ่ง แบบใดโดยไม่มีการเปลี่ยน คู่ต่อสู้ก็จะถอยใน rhythm ที่เท่าเทียมกัน และมันคงจบที่ท้ายสนาม แต่นั่นคงจะไม่ใช่วิธีที่เหมาะกับการฟันดาบแน่     ดังนั้นถ้าเราเปลี่ยน โดยใช้   rhythm หลายแบบผสมผสานกันเช่น    ..___ >>--___.> attack [ สั้น สั้น ช้า เร็ว เร็ว ยาว ยาว ช้า สั้น เร็ว  attack ] จังหวะของคุณจะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาทำให้คู่ต่อสู้ของคุณไม่สามารถที่จะคาดเดา หรือ ประเมิน ระยะห่างระหว่างคุณกับเขาผิดพลาดหมด    ตอนนี้แหละคือ  sense of surprise หรือ tempo 

 

Laszlo Szabo ได้เขียนไว้ว่า rhythm ของนักดาบเป็นส่วนหนึ่งของ cadence [ลีลา] ที่นักดาบพึงมี      นักดาบควรที่จะเอาใจใส่โดยเริ่มอย่างง่ายๆ เช่น เร็ว ช้า เร็ว  [fast stepforward ?slow slide step-fast lunge] และลองเปลี่ยนรูปแบบต่างๆดูแล้วลองนำไปใช้     เพื่อความเข้าใจมากขึ้นลองไปดูวิดิโอเรื่อง การย่ำเท้าของ Montano และ world class foot work skill ของคุณศูนย์ปืนที่ website ของสมาคมดู     

 

ลีลาของ Montano Cadence:   การเล่นของ Montano ทำให้ผมคิดถึงเพื่อนผมคนหนึ่งชื่อ Flora Marius     เขาเป็นกรรมการตัดสินชาวรูมาเนีย ซึ่งเขาเคยทำหน้าที่เป็นผู้ตัดสินฟันดาบเซเบอร์ชายบุคคลรอบชิงชนะเลิศในโอลิมปิคปี 2004 ณ กรุงเอเธนส์   ผมได้มาเจอเขาครั้งหนึ่งในปี 2006  และเราได้คุยกันในเย็นวันหนึ่งหลังจากที่เราเสร็จจากการตัดสินดาบในรายการเยาวชนชิงแชมป์โลกที่  Taeback ประเทศ เกาหลี         ระหว่างทานอาหารกัน เขาถามผมว่า  "คุณได้ดูแต้มสุดท้ายระหว่าง Montano กับ Numsick หรือไม่ ?[14:14]"  เขาคุยต่อไปว่าเขาให้ Motano ชนะไปด้วยแต้ม 15 ต่อ 14    และเมื่อกลับไปถึง Romania  เขาได้ขอ DVD ในการแข่งขันคู่นั้นมาดูตลอดทั้งคืน (เพราะว่ายังข้องใจตัวเองอยู่) โดยไม่ใช้ slow replay    เขาบอกกับผมว่าถ้าให้เขาตัดสินอีกครั้ง เขาก็จะให้แต้มสุดท้ายกับ Montano อยู่ดี        อีกหลายปีต่อมาเราพบกันอีกครั้งในกีฬามหาวิทยาลัยโลกที่ประเทศไทยปี 2007  เขาได้บอกกับผมว่า ถ้าตอนนั้นที่เอเธนส์ มีระบบวิดิโอช่วยในการตัดสิน (Video Referee) มีหวัง  Numsick จะได้คว้าเหริยญทองในโอลิมปิค ปี 2004 ที่เอเธนส์แน่    ซึ่งเรื่องนี้ส่วนใหญ่พวกเรามักจะจำได้แต่ผู้ชนะ โดยเรามักไม่เคยถามว่าผู้แพ้เลยว่าเขาแพ้อย่างไร  ผมจึงขอเสนอให้ท่านลองไปหา DVD ในการแข่งขันครั้งนั้นมาดูอีกที และลองตัดสินดูว่า tempo ในแต้มสุดท้ายนี่มันควรจะเป็นนั้น ควรเป็นของใครกันแน่[อย่าดู slow ]  

 

อานนท์