

ระยะ เรื่องของความรู้สึก ไม่ใช่ระยะทาง
การฝึกสอนฟันดาบของผู้้ฝึกสอน
สิ่งที่สำคัญประการหนึ่งคือการสอนเรื่องระยะ
ผู้ฝึกสอนต้องทำให้นักเรียนเข้าใจและแยกให้ออก
การฝึกการรักษาระยะคือการที่ต้องการให้นักเรียนรู้ว่าในสถานการณ์หนึงๆนั้น
จะรักษาความรู้สึก เพื่อให้ตัวของเขาห่างจากคู่ต่อสู้เท่าใด
ระยะนั้นจะไม่คงที่ นักเรียนจะพบกับการฝึกที่หลากหลาย
เพื่อให้เกิดความรู้สึกจนช่ำชอง (Sense)
นักดาบที่ผ่านประสบการณ์ในการแข่งขันมาระยะหนึ่ง
จะเริ่มเข้าใจว่าควรอยู่ห่างจากปลายดาบของคู่ต่อสู้แค่ไหน
เรื่องของระยะส่วนหนึ่งต้องใช้ประสบการณ์ ความรู้สึกในเรื่องของระยะ (Sense
of Distance) นับเป็นเรื่องหนึ่งที่มีความสำคัญต่อกระบวนการในการพัฒนาขีดความสามารถของนักดาบไปสู่ความสำเร็จ
เรื่องของระยะนั้นใกล้เคียงกับความเป็นกลยุทธ์(Tactics)เป็นอย่างมาก
ในการแข่งขันนั้นความรู้สึกจะบอกกับนักดาบเองว่าจะต้องอยู่ห่างจากคู่ต่อสู้แต่ละคนแต่ละแบบแค่ไหน
คำถามมีอยู่ว่าแล้วความรู้สึกเหล่านี้จะหาได้จากไหน จากการฝึก จากการแข่งขัน
ที่จริงแล้วทั้งสองอย่างมีส่วนในการสร้างความรู้สึกดังกล่าว
นักดาบที่มีความแตกต่างกันในด้านส่วนสูงและความเร็วจะยิ่งมีผลในเรื่องของระยะมากขึ้น
โดยปกตินักดาบที่สูงกว่าจะพยายามรักษาระยะที่ห่าง
เป็นระยะปลอดภัยของตัวโดยใช้ช่วงความยาวของตัวในการเข้าทำ
ในขณะที่นักดาบที่มีส่วนสูงไม่มากต้องหาระยะที่ใกล้พอของตัวเองโดยไม่ให้คู่ต่อสู้ไม่สามารถป้องกันได้หรือใช้ความเร็วเข้ามาชดเชย ความสามารถหนึ่งที่จะลดความเสียเปรียบในเรื่องของระยะลงได้ คือการใช้ Footwork ที่ดีเยี่ยม
และการประเมินคู่ต่อสู้ที่แม่นยำ เราต้องประเมินระยะวิกฤติของคู่ต่อสู้ทุกๆคน
โดยใช้สัญชาตญาน (Instinctive)การปรับตัว (Adaptable) และคาดการณ์ที่แม่นยำ(Accurate)