งานผู้ฝึกสอน > การวิเคราะห์สิทธิในการเข้าสู่โอลิมปิคที่ ลอนดอน ปี ๒๐๑๒
การวิเคราะห์สิทธิในการเข้าสู่โอลิมปิคที่ ลอนดอน ปี ๒๐๑๒

วีรเดช พย กับ นักดาบเกาหลี มีวางอันดับเกาหลีมืออันดับสองของโลก OH Eun Seok (ด้านซ้าย ขณะกำลังลันจ์ยาวเข้าทำวีรเดชของเรา) ในรายการ World Championship at Paris 2010 เมื่อ ๖ พ.ย.๕๒ เวลา ๑๑๔๕ ตามเวลาท้องถิ่น

 

การวิเคราะห์ นักดาบไทยกับถนนสู่โอลิมปิคที่ ลอนดอนในปี ๒๐๑๒ สิ่งที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งสำหรับวงการฟันดาบของไทยก็คือ นักดาบของไทยจะเดินทางสู่ถนนโอลิมปิคที่ลอนดอนได้อย่างไร จากเอกสารของเอฟไออีเรื่อง Qualification System-Games of the Olympiad ซึ่งหาอ่านได้จากเว็ปไซต์ของเอฟไออีได้กำหนดเงื่อนไขสำหรับนักกีฬาสู่โอลิมปิคไว้ดังนี้คือ

 

๑. นักกีฬาใน ๒๔ คนแรกจากทีมที่มีอันดับโลกสูงสุดจะได้รับสิทธิไปโอลิมปิคโดยอัตโนมัติ


๒. ตามด้วยนักกีฬาที่อยู่ในโซนอีก ๗ คน ที่มีอันดับโลกสูงสุด ซึ่งขึ้นอยู่กับว่านักกีฬาผู้นั้นอยู่โซนไหน สำหรับโซนเอเซียนั้น มีได้เพียง ๒ คน เท่านั้น

 

๓. ส่วนที่เหลือ อีก ๕ คน จัดให้กับนักดาบของประเทศที่ไม่สามารถมีสิทธิเข้าโอลิมปิคโดยผ่านระบบทีมในข้อ ๑. ซึ่งใน ๕ คนนี้ ทางเอเซียมีได้เพียง ๑ คนเท่านั้น  โดยจะต้องแข่งขันกันผ่านรายการที่เอฟไออีจัด

 

๔. ไม่ว่าในกรณีใดๆ แล้ว จะต้องไม่มีนักดาบจากชาติไหนมีสิทธิเกิน ๓ คน

 

การวิเคราะหฺ์ (สำหรับวีรเดช ค็อตนี่) การวิเคราะห์นี้อยู่บนพื้นฐานคะแนนสะสมที่ปรากฎอยู่บนเอฟไออีในปัจจุบัน  ซึ่งปัจจุบันเริ่มมีการแข่งขันกันในซีสันใหม่แล้ว คะแนนสะสมจะเปลี่ยนไป ซึ่งต้องมาวิเคราะห์กันใหม่

 

สิทธิของนักดาบไทยว่าจะเข้าโดยผ่านระบบทีมได้หรือไม่นั้น ก็ต้องคิดำนึงว่า ทีมของประเทศไทยนั้นจะสามารถอยู่ใน ๘ ทีมได้หรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้ต้องกลับไปดูประวัติการแข่งขันประเภททีมของเราก่อนว่าเรามีทีมอยู่ในระดับใดของโลก เราเคยส่งแข่งขันประเภททีมอะไรบ้าง คำตอบก็มีเพียง ทีมฟอยล์เท่านั้นที่เราส่งแข่งขันอย่างต่อเนื่อง สำหรับทีมดาบอื่นๆ เราไม่เคยส่งเป็นทีมเลย นักดาบเซเบอร์และนักดาบเอเป้ของไทยจึงไม่มีโอกาสที่จะเข้าสู่โอลิมปิคในระบบทีมได้เลย ฉะนั้นทางเดียวที่นักดาบเอเป้และนักดาบเซเบอร์ของไทยจะเดินเข้าสู่โอลิมปิคได้คือต้องอยู่ในเงื่อนไขข้อที่  ๒ กับข้อที่ ๓  เท่านั้น ส่วนนักดาบฟอยล์ของเราหากต้องการก็จะต้องส่งแข่งขันจนกระทั่งมีระดับผลงานอยู่ใน ๘ ทีมแรก ซึ่งจะได้หรือไม่นั้นจะได้วิเคราะห์ในเห็นภาพต่อไป

 

ถึงตอนนี้ผมขอวิเคราะห์ถึงการเข้าสู่โอลิมปิคของนักดาบไทยผ่านเงื่อนไขข้อ ๒ เพียงอย่างเดียวก่อน เพราะว่ามันสำคัญมากสำหรับนักดาบไทยที่ต้องการทราบล่วงหน้าว่าตนเองนั้นจะมีโอกาสเข้าได้หรือไม่  หากเราตั้งสมมุติฐานในเชิงที่แย่ที่สุดว่านักดาบในทีมที่มีสิทธินั้นมีอันดับโลกอยู่ที่ ๑ ถึงลำดับที่ ๒๔ แล้ว  ซึ่งแน่นอนสำหรับทีมในเอเซียนั้น จีน เกาหลี นั้น คงเข้ารอบอย่างแน่นอนในเกือบทุกดาบ ส่วนญี่ปุ่นก็มีทีมฟอยล์ นั้นก็หมายความว่า เงื่อนไขในข้อที่ ๒ นั้น ไม่ได้มีไว้สำหรับจีนกับเกาหลีและอาจรวมไปถึงญี่ปุ่นในบางประเภทดาบ  จึงเป็นโอกาสของเราที่จะได้ช่วงชิงให้ได้อันดับโลกสูงที่สุดในเอเซีย ซึ่งถามว่ามีโอกาสทำได้หรือไม่ ในแง่ของฟอยล์กับเซเบอร์แล้วย่อมมีโอกาสทำได้มากทีเดียว แต่เราจะต้องคำนึงถึงคู่แข่งตัวฉกาจที่อยู่ในเอเซียว่ามีใครบ้าง แล้วเราสามารถชนะเขาได้บ้างหรือไม่ อดีตเป็นอย่างไร ซึ่งผมจะวิเคราะห์ให้ดังต่อไปนี้

 

วิเคราะห์นักดาบเซเบอร์ของไทยก่อน

 

เริ่มที่นักดาบเซเบอร์ก่อน ซึ่งเรามีวีรเดช ค็อตนี่ ปัจจุบันอยู่ที่ลำดับที่ ๗๙ ของโลก มีคะแนนสะสมอยู่ที่ ๒๐ ซึ่งเมื่อเราไล่ดูจากอันดับโลกในเว็ปไซต์ของเอฟไออี จะพบว่ามีนักดาบเซเบอร์ในเอเซียที่อยู่ข้างหน้าเขาที่สำคัญคือ อันดับที่ ๖๕ คือ Low Ho Tin คะแนนสะสม ๒๘ คะแนน จากฮ่องกง คนต่อไปคือ อันดับที่  ๖๘  คือ Abe Dini Shor Masti คะแนนสะสม ๒๘ คะแนนจากอิหร่าน  และอีกคนหนึ่งคือ อันดับที่ ๗๒ Ogawa Satoshi คะแนนสะสม ๒๗ คะแนนจากญี่ปุ่น ส่วนที่อยู่หลังวีรเดช ที่สำคัญคือ  อันดับที่ ๘๔ คือ Lam Hin Chung มีคะแนนสะสมอยู่ที่ ๑๘ น้อยกว่า วีรเดชอยู่เพียง ๒ คะแนน ซึ่งเขาก็มีโอกาสขับเคี่ยวกับเราได้เช่นกัน  ซึ่งก็หมายความว่าวีรเดชของเราจะต้องทำคะแนนสะสมไม่ต่ำกว่านักดาบจากฮ่องกง ญี่ปุ่น อิหร่าน ซึ่งในกรณีที่ดีที่สุดของวีรเดชก็คือ  พวกเขาไม่เก็บคะแนนเลย วีรเดชต้องตีตื้นขึ้นไปอีกอย่างน้อยแปดคะแนนเป็นอย่างน้อย จึงจะชนะฮ่องกง อิหร่านและ ญี่ปุ่น  แต่ถ้าหากนักดาบพวกนี้แข่งขันเก็บคะแนนตลอดในขณะที่เราหยุด เราก็หมดสิทธิ หากเราแข่งมากเราก็มีสิทธฺิได้แต้มมาก แต่เราก็จะต้องทุ่มเททั้งกำลังกายและทุนทรัพย์อย่างมหาศาล ซึ่งได้เฉลี่ยแล้วไปครั้งหนึ่งก็ประมาณสามแสนบาท และหากไปแล้วตกก่อนเข้ารอบ ๖๔ เราจะไม่ได้แต้มเลย  ซึ่งผมจะวิเคราะห์ให้เห็นภาพต่อไปว่า วีรเดชจะต้องทำแต้มเท่าใดจึงจะชนะนักดาบที่อยู่ข้างหน้าเขา ซึ่งวีรเดชสามารถเข้ารอบ ๓๒ ในรายการใหญ่ๆ ได้สักครั้ง เขาจะได้แต้มสูงถึง ๑๖ แต้มทีเดียว แต่แค่เข้ารอบ ๖๔ ก็จะได้เพียงแค่ ๔ แต้มเท่านั้น หากไม่เข้ารอบเลยคือ ตกรอบ ๖๔ จะไม่ได้แต้มแม้แต่แต้มเดียว  ซึ่งขอเพียงวีรเดชไปแข่งแล้วได้เข้ารอบ ๓๒ สักสองสามครั้ง ก็มีสิทธิได้คะแนนสูงขึ้นมากทีเดียว แต่ถ้าได้แค่เพียงรอบ ๖๔ สามครั้งก็จะได้แต้มประมาณ ๑๒ แต้ม ซึ่งมันก็พอจะไปได้ แต่ก็ต้องดูคู่แข่งด้วยว่าเขาได้แต้มเท่าใด

 

Mojtara ABEDINI SHORMASTI จากอิหร่าน สูง ๑๗๕ cm นักดาบมือขวา

 

ฉะนั้น เราจะไม่สามารถดูอย่างสเตติกได้จะต้องดูแบบไดนามิกส์ เปรียบเทียบกับคู่แข่งข้างหน้าและข้างหลังเขาโดยต่อเนื่อง ในปีนี้ที่เหลือ และปี ต่อไปก่อนที่จะถึงการแข่งขันโอลิมปิค   ซึ่งเราอาจจะต้องส่งวีรเดชเข้าแข่งให้มากขึ้น และแต่ละครั้งจะต้องมีประสิทธิภาพคือ ต้องได้คะแนนทุกครั้ง กล่าวคือ เข้ารอบ ๖๔ เป็นอย่างน้อย ซึ่งขณะนี้วีรเดชฯ ได้ทำแผนมาแล้ว ขาดเพียงในเรื่องเป้าหมายและการวิเคราะห์คู่แข่งเท่านั้น ซึ่งแน่นอนที่นักดาบฮ่องกง นักดาบญ๊่ปุ่น และนักดาบอิหร่าน ก็คงรู้แบบที่เรารู้เช่นกัน เขาจึงไม่ยอมให้เราแซงเขาได้โดยง่าย เขาก็คงต้องเร่งสปรินต์หนีเราไปให้ห่างไปอีกให้ได้ ซึ่งเรื่องนี้เราก็จะต้องติดตามการแข่งขันของเขาต่อไป และหาแนวโน้มว่าคะแนนของวีรเดชจะบีบกระชั้นเข้ามา หรือว่า จะถูกตีห่างออกไป หรือว่าจะถูกนักดาบฮ่องกงที่อยู่ข้างหลังตีประชิดเข้ามาซึ่งเราก็ประมาทไม่ได้เลย

 

สำหรับการวิเคราะห์นี้ก็สามารถนำไปใช้กับฟอยล์บุคคล และเอเป้บุคคลได้  ซึ่งเรื่องนี้ทางคณะกรรมการสมาคมก็กำลังคิดคำนวณความคุ้มค่าว่ามีประเภทไหนบ้างที่เราจะพอมีโอกาสไปบนเส้นทางโอลิมปิคได้อีก ซึ่งทางสมาคมยินดีสนับสนุนอย่างเต็มที่ ขอเพียงให้นักกีฬามีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าที่จะไปเท่านั้น และเพื่อให้เป็นรูปประธรรมก็จะต้องทำการส่งแผนการ รวมทั้งเป้าหมายเพื่อก้าวไปสู่โอลิมปิคให้ชัดเจนให้เกิดความเชื่อมั่นต่อผู้ให้การสนับสนุนเงินและทรัพยากร

 

สำหรับท้ายสุดหาก วีรเดชฯ ไม่สามารถผ่านในข้อ ๒ ไปได้ ก็เหลือเพียงโอกาสเดียวคือ ไปแข่งให้ได้สิทธิเป็นที่ ๑ ในเอเซียในข้อ ๓ ซึ่งแน่นอนว่า เราจะต้องทำการวิเคราะห์ คู่แข่งของวีรเดช อีกเช่นเคย ว่าวีรเดช สามารถที่จะเอาชนะพวกเขาเหล่านี้ได้หรือไม่ และในอดีตที่ผ่านมาพวกเขาเหล่านี้เคยพบกับวีรเดชหรือไม่ ผลเป็นอย่างไร เพื่อที่จะได้ทำการเตรียมการล่วงหน้า และทำการแก้ไขข้อผิดพลาดก่อนที่จะทำการแข่งขันกับนักดาบเหล่านี้ต่อไป เพราะหากไม่ทำแล้ว ก็ยากที่เราจะเอาชนะเขาได้  ดังคำของซุนวุที่กล่าวว่า รู้เขารู้เรารบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง รู้เขาแต่ไม่รู้เรารบร้อยครั้ง แพ้ชนะใกล้เคียงกัน  หากไม่รู้เขาไม่รู้เราและไม่เตรียมการก็ไม่ต้องพูดถึงว่าจะชนะหรือแพ้

 

วิเคราะห์คู่แข่ง

 

ทั้ง LOW Ho Tin  ของฮ่องกง และ ABEDINI SHORMASTI Mojtara ของอิหร่าน และ LAM Hin Chung ของฮ่องกงเคยเป็นลำดับที่ ๗, ๘ และ ๙ ตามลำดับ และ OGAWA Satoshi จากญี่ปุ่นอยู่ในลำดับที่ ๑๕ ในการแข่งขันทัวนาเมนต์ Asian Fencing Championships 2010 ที่กรุงโซล เมื่อปีที่แล้ว โดยวีรเดชค็อตนี่ของเราอยู่ในลำดับที่ ๒๒

 

Low Ho Tin จากฮ่องกง (มือขวา)

 

เมื่อดูผลหลังจากนั้น พบว่า Abedini Shormasti จากอิหร่านแข่งต่อเนื่องอีก ๔ ครั้งในยุโรปกลับไม่เคยได้แต้มอีกเลยคือเข้าไม่ถึงรอบ ๖๔ ในขณะที่วีรเดช ได้ลำดับ ๒๖ จึงพอจะคาดเดาได้ว่านักดาบอิหร่านผู้นี้ คงจะต้องแข่งขันอย่างหนักหน่วงเพื่อให้เอาชนะในบรรดา ๔ คนนี้ที่มีความหวังเข้าโอลิมปิค  และหากดูพลังเงินของอิหร่านแล้วเขาคงส่งแข่งขันต่อเนื่องในปี ๒๐๑๑ และ ต้นปี ๒๐๑๒ อย่างแน่นอนเพื่อเก็บแต้มหนีวีรเดชของเราให้ได้

 

ส่วน  Low Ho Tin นั้น ฮ่องกงส่งแข่งน้อยกว่า  หลังจากประสบความสำเร็จที่กรุงโซลแล้วเขาก็ไปแข่งที่แมดดริดเมื่อ ๑๓ พ.ค.๕๔ นี่เอง แต่ก็ไม่สามารถเก็บแต้มได้ จึงยังไม่แน่ใจว่าเขาเองจะลงทุนในการแข่งขันมากขึ้นหรือไม่ แต่เชื่อว่าเขาจะลงแช่งใน ASIAN Fencing Championships ที่กรุงโซลในปี ๒๐๑๑ นี้อย่างแน่นอน

 

ส่วน Lam Hin Chung จากฮ่องกงนั้น หลังจากแข่งขัน ASIAN Fencing Championships 2010 แล้ว เขาก็ไปแข่งที่มอสโคว ได้เข้ารอย ๖๔ แต่ตกรอบ ๓๒ จึงได้เป็นลำดับที่ ๕๒  ได้เพิ่มอีก ๒ แต้ม  แต่ไม่ประสบความสำเร็จที่แมดดริด ซึ่งก็ดูแล้วเขาก็มีพลังเงินในการส่งแข่งขันมากพอดู

 

Hin Chung LAM

 

ส่วน Ogawa Satoshi แห่งญี่ปุ่นนั้น เป็นนักดาบที่ไม่สามารถประมาทได้ เนื่องจากมีทุนสูง สามารถส่งเข้าแข่งขันได้ไม่จำกัด โดยหลังจาก Asian Fencing Championship 2010 ที่กรุงโซลแล้วเขาไปแข่งขันอีก ๗ รายการ ได้แก่ ที่ปารีส ที่บุลกาเลีย ที่อิตาลี ที่ มอสโค เอเธนส์ ที่ แมดดริด ที่วอร์ซอร์โปแลนด์  เขาประสบความล้มเหลวที่  อิตาลี มอสโคว์ และที่เอเธนส์  และ วอร์ซอร์  ส่วนที่ปารีส และบุลกาเลียได้ผมดีพอสมควร คือที่ปารีสได้ลำดับที่ ๔๕  ได้ ๖ แต้ม ที่ บุคกาเลียได้ที่ ๕๙ ได้ ๒ แต้ม  ที่แมดดริดได้ ที่ ๕๒ ได้ ๒ แต้ม

 

Satoshi OGAWA  จาก JPN  นักดาบมือขวา สูง ๑๗๘ เซนติเมตร

Right-handed

 

 

ข้อสังเกตุ ก็คือ วิรเดช ฯ แข่งน้อยกว่าคู่แข่งทั้งสี่คนมาก แต่กลับได้แต้มที่ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ ใช้ได้ทีเดียว และทุกครั้งที่แข่งก็ยังไม่เคยตกรอบ ๖๔ เลย คือได้แต้มทุกครั้ง   สิ่งที่เราควรจับตาดูก็คือ ใน การแข่งขัน Asian Fencing Championships 2011 ที่กรุงโซลที่จะถึงในเดิอนหน้านี้ ว่าทั้งสี่คนใครจะได้แต้มได้มากกว่ากัน   และพวกคุ่แข่งของวีรเดช นั้น จะทำได้ดีกว่าวีรเดชฯ เหมือนในปีที่แล้วหรือไม่  ซึ่งขอให้พวกเราติดตามดูกันนะครับ