

การสกัดกับการสวนดาบ
การสกัดกับการสวนดาบ ในดาบสิทธิเป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อนมากๆ
และสร้างความสับสนให้กับผู้ตัดสินได้โดยง่าย แม้แต่ในกติกาของเซเบอร์ ม.80 ข้อ 5 เองก็ยังกล่าวถึงความยากเรื่องนี้ เอาไว้ว่า ความผิดของฝ่าย เข้าทำประกอบด้วยความลังเลใจ
ความชักช้าในการแทงหรือการหลบหลีกที่ไม่ได้ผลส่วน
ความผิดของฝ่ายตั้งรับนั้นอยู่ที่การถ่วงเวลาหรือชักช้าในการสกัด(กรณีหนึ่งที่ตัดสินยากก็คือการแทงสกัดแล้วเป็นการแทงพร้อมกัน
ซึ่งยากที่จะพิจารณาได้ว่าเป็นการแทง/ฟันสกัด
ในช่วงจังหวะเวลาเคลื่อนที่ในขั้นสุดท้ายของการเข้าทำหลายจังหวะหรือไม่และโดยทั่วไปแล้ว
ในกรณีเช่นนี้จะต้องถือว่าการแทงพร้อมกันนั้นเกิดขึ้นจากความผิดพลาดของนักดาบทั้งสองฝ่าย
ซึ่งทำให้ผู้ตัดสินสั่งให้คู่แข่งขันกลับไปอยู่ในท่าจดดาบ )
ขณะเดียวกันในแง่มุมของผู้ฝึกสอนถ้าไม่เข้าใจในสองสิ่งนี้
ก็จะไม่สามารถหา Tempo ที่เหมาะสมเพื่อสอนให้กับนักดาบได้
ความจริงในเรื่องนี้ถ้าผู้ตัดสินเข้าใจหลักการแล้วง่ายนิดเดียว
และเมื่อได้ฝึกฝนดูนอกสนามแข่งขันก็จะชำนาญ
จะเพิ่มความมั่นใจในการตัดสินได้เป็นอย่างมาก ในการตัดสินดาบเซเบอร์นั้นพึงระลึกว่าโอกาสที่จะเป็น
Simultaneous
นั้นมีโอกาสน้อยมาก หลักการที่ว่านี้ประกอบด้วย 2 ทฤษฎี
ทฤษฎีที่
1
Fencing Time หนึ่งห้วงเวลาจังหวะดาบ (1 เพลงดาบ)
ถ้านักดาบคนใดที่ ทำ Action
Fencing Time (True Tempo) ได้ตามกระบวนการแล้ว
อีกฝ่ายหนึ่งไม่ สามารถชิงจังหวะใดๆในการเข้าทำได้เลย
ทฤษฎีที่
2
True & Fault ห้วงจังหวะ (Tempo) ที่เป็น
True นั้น การดำเนินการของจุด 4 จุดของนักดาบจะต้องต่อเนื่องกันดังนี้
1 มือ(บังคับดาบคุกคามเป้าเคลื่อนเข้าหา เป้าหมาย) 2 แขน 3
ตัว และ 4 เท้า
(เท้าหน้าตามด้วยเท้าหลัง)จึงจะถือว่าเป็น 4 True แต่ถ้าใน 4 จุดของการเคลื่อนที่นี้ไม่ได้เริ่มจากจุดที่
1และสลับกันไปกันมา ระหว่าง
2 หรือ 3 หรือ 4 นั้นให้ถือเป็น
4 Fault ถือเป็นเพียงแค่การเตรียมการ
ในมุมมองของผู้ตัดสิน การพิจารณานักดาบที่เข้าทำ ถ้านักดาบที่เข้าทำชิงจังหวะ ดำเนินการตามทฤษฎีที่ 2 ได้ก่อนและถูกต้อง
ก็จะได้ทฤษฎีที่ 1 ตามมาโดยอัตโนมัติ
กรณีนี้ถ้านักดาบฝ่ายตรงข้ามดำเนินการเข้าทำตอบโต้สำเร็จ ถือว่าเป็นการสวนดาบ ผู้เข้่าทำได้แต้ม แต่ถ้านักดาบที่เข้าทำดำเนินการในทฤษฎีที่สองผิดพลาดแม้จะชิงจังหวะได้ก่อนก็ตาม
ก็จะเป็นผลให้ไม่ได้ทฤษฎีที่ 1 ฝ่ายตรงข้ามเข้าทำตอบโต้สำเร็จจะเป็นการสกัดไปโดยปริยาย
ผู้เข้าทำเสียแต้ม มองแล้วทั้งสองกรณีคล้ายทำความพร้อม
แต่ถ้าสังเกตุดูให้ดีจะมีนักดาบคนหนึ่งที่ดำเนินการก่อน (ไฟเครื่องตัดสิน
จะแสดงไฟขึ้นทั้งสองข้าง)
"กล่าวโดยสรุปคือ
ถ้านักดาบคนหนึ่งชิงจังหวะเข้าทำ ได้ห้วงเวลา Fencing Time นักดาบฝ่ายตรงข้ามทำตอบโต้ถือเป็นสวนดาบ
ถ้านักดาบคนหนึ่งชิงจังหวะเข้าทำ แต่ไม่ได้ห้วงเวลา Fencing Time นักดาบฝ่ายตรงข้ามทำตอบโต้ถือเป็นสกัด"
ในมุมมองของผู้ฝึกสอน คือการให้สัญญานในการล่อเป้า โดยส่งสัญญานให้นักดาบเข้าใจว่าจังหวะไหนคือ True
จังหวะไหนคือ Fault อาจเริ่มจากวงกว้างเพื่อสื่อสารให้นักดาบเข้าใจและทำให้แคบและไวจนเหมือนจริง
ประการสำคัญคือนักดาบต้องรู้ว่าจะต้องทำอะไร
ในจังหวะที่ตัวเองได้เปรียบหรือเสียเปรียบ โดยปกติแล้วผู้ฝึกสอนจะไม่ใช้เสียง
แต่ใช้การสื่อสารที่สัมพัทธ์ (จังหวะที่สัมพันธ์กัน)
เพราะเมื่อลงแข่งบนสนามประลองคู่ต่อสู้ของเราเขาก็ไม่ใช้เสียง
เขาใช้อาการเยื้องย่างดังพยัคฆ์เพื่อรอะตะปบเหยื่อ