

ที่มาของทฤษฏีดาบและความจำเป็น คุณคิดว่าโค้ชจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องมีความเข้าใจในทฤษฏีดาบ อาจมีโค้ชหลายท่านโต้แย้งบทความนี้ของผมว่าไม่เห็นจะต้องมีทฤษฏีดาบเท่าใดผมก็เป็นโค้ชที่สั่งสอนนักกีฬาจนมีความสามารถได้
บทความนี้จะชี้ให้เห็นว่าทฤษฎีดาบมีความสำคัญมากเพียงใดต่อการพัฒนาความสามารถของครูดาบและปรมาจารย์ดาบ
สำหรับทฤษฏีมาจากคำภาษาอังกฤษว่า Theory หรือมาจากรากศัพท์
Latin ว่า the?ria แปลว่า
To see clearly. นั้นหมายความว่าทฤษฎีทำให้เราเห็นสิ่งต่างๆอย่างชัดเจนมากขึ้น
เปรียบได้เหมือนกับเราจะทำความเข้าใจการทำงานของรถยนต์ สิ่งแรกก็คือ
เราจะต้องทำความเข้าใจของส่วนประกอบของรถยนต์ด้วยการถอดมันเป็นชิ้นๆ จากนั้น
จึงทำความเข้าใจในการทำงานของมัน หากถามว่าเมื่อเข้าใจการทำงานแต่ละชิ้นแล้วรถยนต์ทำงานได้หรือไม่
คำตอบก็คือไม่ ดังนั้นเราจึงต้องนำชิ้นส่วนเหล่านั้นประกอบกลับคืนเป็นรถยนต์ใหม่อีกครั้ง
แล้วลองสตาร์ทเครื่องยนต์ดูว่ามันทำงานได้หรือไม่
ทฤษฎีการทำงานของเครื่องยนต์จึงมีประโยชน์มากทั้งในการทำความเข้าใจในแต่ละส่วน
และการทำงานร่วมกันของส่วนประกอบต่างๆ ยิ่งไปกว่านั้น หากขาดซึ่งทฤษฏีก็ยากที่จะทำการศึกษาเข้าใจการทำงานของรถยนต์ได้อย่างลึกซึ้ง
พูดง่ายๆก็คือ
หากไม่มีการเรียนทฤษฏีก่อนการถอดชิ้นส่วนของเครื่องยนต์จะทำได้ยากยิ่งโดยเฉพาะช่างเครื่องยนต์มือใหม่ย่อมทำได้ยากมาก
และเมื่อมีความเข้าใจในการทำงานของชิ้นส่วนต่างๆ เป็นอย่างดีแล้วก็จะเกิดแนวคิดในการพัฒนาชิ้นส่วนเหล่านั้นให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นทดแทนชิ้นส่วนเดิม
ผมจึงไม่แปลกใจเลยว่าครูดาบและปรมาจารย์จึงต้องผ่านการสอบและเขียนวิทยานิพนธ์เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเข้าใจในทฤษฏีดาบ
เพราะครูดาบและปรมาจาร์ย์ดาบไม่ใช่แค่เป็นผู้ฝึกสอนเท่านั้น แต่เขาคือแนวหน้าของผู้ค้นคิดยุทธวิธีดาบแบบใหม่ๆ
เพื่อนำไปใช้ในการแข่งขัน
หากเราไม่สนใจในทฤษฎีดาบก็เหมือนกับการเรียนการถอดประกอบเครื่องยนต์โดยไม่มีคู่มือซ่อมรถ
จึงยากที่ครูดาบจะสามารถพัฒนาเทคนิคใหม่ๆ ได้ ทฤษฎีดาบจึงเป็นเหมือน Manual
ของการฟันดาบให้ผู้สนใจศึกษาสามารถแยกแยะส่วนประกอบของการฟันดาบได้อย่างชัดเจนนั่นเอง
ทีนี้เรามาดูทฤษฏีดาบดังต่อไปนี้กันดูว่าจะช่วยให้ท่านมีความเข้าใจการฟันดาบมากยิ่งขึ้นขนาดไหน
ตัวอย่างทฤษฏีการฟันดาบ
Zbigniew Czajkoweki กล่าวว่า
"to look is not the same as to see, to see is not the same as
to perceive. We perceive, really--on a higher, conceptual-functional
level--only what we know, understand well and can give a name to." หรือแปลเป็นภาษาไทยได้ว่า การมองไม่เหมือนกับการเห็น และการเห็นก็ไม่เหมือนกับการสัมผ้สรู้ (เข้าใจในการทำงานที่ลึกซึ้ง) ซึ่งสิ่งที่เราสัมผัสรู้นั้นก็คือ
สิ่งที่เราเข้าใจและสามารถกำหนดชื่อให้กับมันได้
เขาได้เขียนบทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับการกระทำในดาบหรือ
Fencing
Action โดยเขาได้ชี้ให้เห็นว่าการจะวิเคราะห์การฟันดาบของฝ่ายตรงข้ามให้ได้จำเป็นอย่างยิ่งต้องเข้าใจในทฤษฏีดาบเสียก่อน
เพราะมันจะเป็นพื้นฐานให้เราสามารถแยกแยะการกระทำของคู่ต่อสู้ได้อย่างละเอียดและสามารถนำไปสังเคราะห์หาวิธีการแก้ไขการกระทำของคู่แข่งได้
แต่ถ้าหากเราไม่มีทฤษฎีดาบแล้วละก็เราก็จะเป็นการยากในการเข้าใจ
ยิ่งไปกว่านั้นจะทำให้เรายิ่งเบื่อในการดูดาบไปเลย
เขาได้แบ่งการกระทำในการฟันดาบออกเป็น 2 ส่วน คือ (1) การเตรียมการ และ (2) การทำจริง
การเตรียมการ การเตรียมการมีวัตถุประสงค์อยู่ 6 ประการคือ
1.
ประเมินจุดอ่อนของคู่แข่งขัน และเป็นการทำความเข้าใจภาวะจิตวิทยายา และสถานการณ์จริงบนสนามแข่ง
2.
ปกปิดความตั้งใจของตน
3.
ชักนำให้คู่แข่งขันเข้าใจผิดด้วยการลวง
4.
ดึงให้คู่แข่งกระทำในบางสิ่งและพยายามที่จะมีอิทธิพลเหนือการกระทำของคู่แข่ง
5.
เคลื่อนที่ไปอยู่ในตำแหน่งที่ได้เปรียบ เพื่อทำให้มีอิสระในการเล่น
หรือเพื่อให้สามารถริเริ่ม และเตรียมการเข้าโจมตีหรือกระทำการใดๆ ต่อไป
6.
กีดขวางหรือทำลายสมาธิและการประเมินสถานการณ์ของคู่แข่งขัน
การกระทำจริง การกระทำจริงกระทำเป็นการลงดาบไปยังเป้าเพื่อให้ได้แต้มไม่ว่าจะเป็นการลงดาบตรงไปที่เป้าโดยตรงหรือโดยอ้อม
(มีความตั้งใจที่สอง) การกระทำจริงนี้สามารถแบ่งได้เป็น (1)การกระทำเชิงรุก
(2) การกระทำเชิงรับ (3) การโต้การรุก
การกระทำเชิงรุก
ประกอบด้วย
1.
การเข้าทำ หรือ Attack
2.
การโจมตีกลับหลังจากทำการรับดาบของคู่ต่อสู้ (Repostes)
3.
การโจมตีหลังจากที่ทำการรับดาบจากการ Repostes ของคู่แข่ง
(Counter-ripostes)
4.
การโต้ต่อการชิงจังหวะเข้าทำของคู่ต่อสู้ด้วยการเข้าไปรับดาบฝ่ายที่ชิงจังหวะและทำการโต้กลับ
(Counter-time)
อันนี้ใช้กับการแก้การสกัด
5.
การกระทำการเชิงรุกใหม่ หรือ Renewed offensive action ซึ่งได้แก่
Remise หรือการกระทำการรุกต่อเนื่องทั้งที่ตนเองลงดาบแล้วไม่โดนเป้าหรือทั้งที่ถูกรับดาบแล้วก็ยังลงดาบเข้าหาเป้าต่อไปโดยไม่มีการดึงแขนกลับ,
Reprise หรือการกระทำโจมตีต่อเนื่องหลังจากที่ลงดาบแล้วพลาดเป้าหรือถูกรับดาบแล้ว
ซึ่งต่างจาก Remise ตรงที่ผู้กระทำได้ถอนตัวกลับหรือดึงแขนกลับมาอยู่ในท่าจดดาบก่อนที่จะโจมตีเป้าหมายต่อไป,
Redouble เป็นการกระทำเช่นเดียวกับ Reprise แต่กระทำในแนวใหม่
โดยกระทำการเคลื่อนใบดาบมากกว่าหนึ่งจังหวะก่อนลงดาบ ในขณะที่ Reprise เคลื่อนใบดาบจังหวะเดียวก่อนลงดาบ
การกระทำโต้การรุก ประกอบด้วย
1. Point
in Line หรือชี้ดาบในแนว
2. Counter
Attack ซึ่งเป็นการโต้ต่อคู่แข่งขันที่ได้กำลังเข้าทำ
(ได้สิทธิเข้าทำ) เช่น
การสกัดแล้วหลบเพื่อหนีจากการลงดาบของคู่ต่อสู้ หรือ การสกัดพร้อมกับขืนใบดาบของฝ่ายตรงข้ามไปในทิศทางที่ไม่เป็นคุกคามเป้า (Opposition) หรือ
การสกัดพร้อมหลบใบดาบของคู่แข่งในกรณีที่คู่แข่งขันเข้าทำด้วยการปัดดาบ
การกระทำเชิงรับ ประกอบด้วย
1.
การรับดาบ
2.
การหลบ
3.
การถอย
นี่คือกรอบที่ทำให้เราสามารถวิเคราะห์การกระทำของนักดาบได้ว่าขณะนั้นเขากำลังจะทำอะไร
เตรียมการหรือว่าทำจริง หากเตรียมการเข้าทำนั้นเขาเตรียมการอย่างไร
หรือทำจริงเขาทำอย่างไร จะทำให้การวิเคราะห์ของโค้ชง่ายขึ้นและลึกซึ้งขึ้น
เพราะอย่างไรเสียการกระทำของนักดาบก็มีไปไม่มากกว่านี้ละครับ